2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
89 กล่าวคือ ส่วนใหญ่เมื่อมีการใช้ลายมือชื่อจะเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการยืนยันตัวบุคคลและ กาหนดความผูกพันของบุคคลผู้ลงลายมือชื่อนั้น โดยอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเอกสารที่ลงลายมือ ชื่อ ซึ่ งบทบัญญัติมาตรา 9 เป็นบทที่กาหนดขึ้นบนพื้นฐานของหลักความเท่าเทียมกันระหว่าง “ลายมือชื่อหรือลายเซ็นต์บนกระดาษ” กับ “ลายมือชื่อที่อยู่ในข้อมูลของระบบอิเล็กทรอนิกส์” และ เนื่องจากวิธีการทางเทคโนโลยีที่นามาใช้ในการลงลายมือชื่อข้อความที่อยู่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์อาจ มีความแตกต่างกันไป บทบัญญัติมาตรานี้จึงมิได้บัญญัติรองรับเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เปิดกว้างให้สามารถรับรองลายมือชื่อที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกรูปแบบ ผู้ลงลายมือ ชื่อจึงใช้วิธีการใดก็ได้เพียงแต่วิธีการดังกล่าวควรเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ตามหมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ มาตรา 26-31 โดยในหมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของกฎหมายฉบับนี้ ได้บัญญัติเพื่อเสริม หลักการมาตรา 9 กล่าวคือ เพื่อกาหนดแนวทางในการพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการที่น่าเชื่อซึ่งเหมาะสม กับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยคานึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือ ข้อตกลงของคู่กรณีในยุคดิจิทัลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ห้า การใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ กลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ปี 2008 สรุปสถานะทางกฎหมายของลายเซ็นในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยแยกความแตกต่าง ระหว่างลายเซ็นทั่วไปและลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ส่วนที่ 9 ทาให้แน่ใจว่าลายเซ็นในข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์มีน ้าหนักเท่ากับลายเซ็นบนกระดาษ ซึ่งทาหน้าที่ยืนยันตัวตนและสร้างความน่าเชื่อถือ ข้อกาหนดนี้ให้ความยืดหยุ่นในวิธีการที่ใช้ในการลงนามข้อความอิเล็กทรอนิกส์ โดยเน้นความสาคัญ ของความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ บทที่ 26-31 ยังให้แนวทางในการกาหนดวิธีการที่เหมาะสมสาหรับ การสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปรับให้เหมาะกับสถานการณ์หรือข้อตกลงเฉพาะของฝ่าย ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะมอบ ความสะดวกและมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็รักษาความสมบูรณ์ของธุรกรรมทางกฎหมาย ประการที่ หก การเก็บรักษาหรื อข้อความในเอกสาร ในมาตรา 12 ได้มีการ กาหนดให้สามารถเก็บรักษาหรือข้อความในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยกาหนดเงื่อนไขคือต้อง สามารถเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ในขณะที่สร้าง ส่ง หรือได้รับข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้น หรืออยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงข้อความที่สร้า ง ส่ง หรือได้รับให้ปรากฏอย่าง ถูกต้องได้ โดยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรานี้กาหนดให้ข้อความ หรือเนื้อหาที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นต้องตรงกับข้อความหรือเนื้อหาในเอกสารก่อนการ จัดเก็บให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าในการแปลงข้อความให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์จะทาให้ข้อความหรือรูปแบบของเนื้อหาที่ปรากฎภายหลังจะแตกต่างกันไปบ้าง เช่น ระยะหรือย่อหน้าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิมในมาตรา 12 เน้นถึงความสาคัญของการเก็บรักษาเอกสาร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3