2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
91 ประเทศดังกล่าวต่างก็มีกฎหมายเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ออกมาใช้บังคับเป็นกฎหมาย เฉพาะ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของอาชีพนี้ เพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงานและสร้างความ เชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคที่ใช้บริการผ่านนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรตรากฎหมาย เป็นพระราชบัญญัติควบคุมนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ เพื่อคัดกรองนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่มีความรู้ความสามารถ ให้มีความซื่อสัตย์ สุจริตจะเป็นผลดีกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์และผู้บริโภคที่ใช้บริการผ่านนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้อาชีพนี้มีความน่าเชื่อถือและให้เป็นที่ยอมรับจากประชาชน 4.2 ปัญหาการขึ้นทะเบียนเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการประกอบวิชาชีพ กิจการ หรือกระทำการบางอย่าง แต่เพื่อประโยชน์สาธารณะในด้านต่างๆ รัฐจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดความสมดุล ระหว่างสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม เช่น เรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคาร การขนส่งมวลชน และกิจการร้านอาหาร รวมไปถึงในเรื่องของวิชาชีพมีการกำหนดให้ต้องขึ้นทะเบียน หรือออกใบอนุญาตเมื่อผ่านการศึกษาและฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด เช่น ทนายความ เภสัชกร นักบัญชี เป็นต้น ซึ่งการขึ้นทะเบียนเป็นมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด เพราะต้องมีการตรวจสอบ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตและรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการที่จะขออนุญาตเสียก่อนว่าจะมี ผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะเพียงใด ซึ่งในแง่นี้ย่อมเป็นผลดีต่อการ คุ้มครองประโยชน์สาธารณะ แต่ในอีกแง่หนึ่ง การขึ้นทะเบียนเป็นกลไกที่กระทบต่อการใช้สิทธิและ เสรีภาพของบุคคลค่อนข้างมาก โดยทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้มีการจัดสอบเพื่อขอรับ ใบอนุญาตนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีสมาชิกมากกว่า 3,700 รายเท่านั้น ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนนั้นมีจำนวนมาก เมื่อพิจารณาปรากฎว่าการขึ้นทะเบียนนั้นส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลดังกล่าวที่ ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เดิม อีกทั้งการประกอบอาชีพนี้ยังไม่มีมาตรฐานในการทำงาน เนื่องจากไม่มีกฎหมายบังคับเป็นการเฉพาะ จึงทำให้บุคคลดังกล่าวไม่ให้ความสำคัญต่อการขึ้น ทะเบียนเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การขึ้นทะเบียนเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีปัญหา และอุปสรรคในการขึ้นทะเบียน 2 ประเด็นดังต่อไปนี้ 4.2.1 การขึ้นทะเบียนกับทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันทางสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมมือกับทางสมาคมนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ไทย โดยทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและสนับสนุนการ พัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อยกระดับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์อย่างมืออาชีพด้วยมาตรฐานอาชีพ คุณภาพเทียบเท่าสากล แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้สำหรับอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3