2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
94 นายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ดูแลควบคุมการจัดสอบตามหลักสูตรและขอขึ้นทะเบียน เพื่อขอรับ ใบอนุญาตเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ตามเดิม 4.2.2 การกำหนดคุณสมบัตินายหน้าอสังหาริมทรัพย์ บุคคลใดก็สามารถเข้ามาประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้โดยไม่มีการกำหนด คุณสมบัติหรือเงื่อนไขใดๆไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และบุคคลใน ที่นี้หมายความถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับบุคคลธรรมดาที่ประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์นั้นต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะการชี้ช่องหรือจัดการ ให้เข้าทำสัญญาระหว่างคู่สัญญานั้น เป็นการทำสัญญานายหน้าและถือเป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1) อายุ ซึ่งเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่างๆ เป็นปัญหาในการขึ้น ทะเบียนเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติถึงคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุของผู้ที่ ประกอบอาชีพเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19 บัญญัติว่า บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติ ภาวะเมื่ออายุยี่สิบปีบริบูรณ์ และมาตรา 20 บัญญัติว่า ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสหาก การสมรสนั้นได้ทำตามบัญญัติมาตรา 1448 แสดงให้เห็นถึงหลักเกณฑ์ในการบรรลุนิติภาวะของ ผู้เยาว์ โดยการดำเนินงานของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องมีการทำสัญญานายหน้าไม่ว่าจะเป็น การทำด้วยลายลักษณ์อักษรหรือวาจา ก็ถือเป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง หากบุคคลดังกล่าวยังไม่ บรรลุนิติภาวะตามมาตรา 19 และ 20 นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 21 ก็กำหนดไว้ ว่าผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อนจึงจะ สามารถทำได้ ถ้าทำโดยปราศจากความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมนิติกรรมดังกล่าวจะตกเป็น โมฆียะ และในมาตรา 26 ได้กำหนดว่า ผู้เยาว์สามารถจำหน่ายทรัพย์สินได้ก็ต่อเมื่อผู้เยาว์ต้อง ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อนถึงจะสามารถทำได้ และในมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดว่าผู้เยาว์ที่ต้องการประกอบธุรกิจการค้า ธุรกิจอื่นๆ หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างนั้นใน สัญญาจ้างแรงงานนั้น ผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากทางผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อนจึงจะ สามารถทำได้ เนื่องจากกฎหมายได้มองว่านิติกรรมของผู้เยาว์ในมาตรา 21 มาตรา 26 และมาตรา 27 นั้นเป็นนิติกรรมสองฝ่ายที่จะต้องทำกับบุคคลภายนอก โดยการประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์นั้นก็เป็นตัวกลางหรือบุคคลที่สาม ซึ่งเข้ามาชี้ช่องหรือเจรจาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ในปัจจุบันการที่ผู้เยาว์จะประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่สามารถทำได้ในประเทศไทย เพราะผู้เยาว์ไม่สามารถทำนิติกรรมสองฝ่ายได้ตามลำพังต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เสียก่อน เมื่อเทียบกับอาชีพนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย และนายหน้าหลักทรัพย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3