2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

97 อสังหาริมทรัพย์ หากเปรียบเทียบกับประเทศไทยการกำหนดวุฒิการศึกษาเหมาะกับการประกอบ วิชาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกร ทนายความ เป็นต้น ซึ่งการประกอบวิชาชีพเหล่านี้ได้ถูกกำหนดไว้ใน หลักสูตรปริญญาตรีในระดับมหาวิทยาลัย เช่น คณะแพทย์ศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะ นิติศาสตร์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่มีคณะที่เกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยตรง มีเพียงคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพอสังหาริมทรัพย์ (Thammasat design school, 2566) นอกจากนี้ ยังมีคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการประเมินราคาทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ (RKBS Business school, 2567) และคณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรการจัดการธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งคณะที่เกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยตรงในประเทศไทยยังไม่ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย มีเพียงการอบรมในหลักสูตรของ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้จัดอบรมหลักสูตรดังกล่าว ในขณะที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้มีการออกกฎหมาย The Law on Real Estate Trading 2014 ผู้ที่สมัครขอรับใบอนุญาตต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถเพียงพอที่จะ ดำเนินการทางแพ่งได้ และต้องจบการศึกษาอย่างน้อยระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป อีกทั้งต้องผ่านการ สอบความรู้เกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยคุณสมบัติของผู้สมัครขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ แต่ต่างกันที่ระดับการศึกษา ซึ่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกำหนดไว้ว่าต้องจบการศึกษาอย่าง น้อยระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป รวมถึงต้องผ่านการสอบความรู้เกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย หากเปรียบเทียบกับประเทศไทย ถือว่าลักษณะการเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของสาธารณรัฐสังคม นิยม เวียดนามมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยมาก เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ตามพื้นที่ต่างจังหวัดนั้นจบการศึกษาระดับมัธยมขึ้นไป และมีการสอบขอรับ ใบอนุญาตเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย เพียงแต่ยังไม่มี กฎหมายออกมาบังคับใช้โดยตรงกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย นอกจากนี้ ตามกฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้กำหนด คุณสมบัติของตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ ขณะที่ตามกฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามไม่มีการพูดถึงในเรื่องของตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แสดงให้ เห็นว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามค่อนข้างมีกฎระเบียบที่กำหนดในเรื่องของนายหน้า อสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าประเทศอื่น จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างพบว่ามีความเห็นตรงกันในเรื่องของคุณสมบัติการ ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ควรเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้นที่จะมีสิทธิขอขึ้นทะเบียน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3