2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
99 เสียเปรียบในเรื่องของการแข่งขันและในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า บุคคลที่มีสัญชาติใดจะสามารถประกอบอาชีพนี้ได้ ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่าง ด้าว พ.ศ 2542 มาตรา 4 ได้บัญญัติถึงคนต่างด้าวแยกเป็น 2 ประเภท คือบุคคลธรรมดาและนิติ บุคคล โดยเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และอาจรวมถึงนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยด้วย สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย คลอบคลุมทั้งนิติบุคคลซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุน หรือลงทุนโดยบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยตั้งแต่ ครึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้นและห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่ง หุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ 2542 ภายใต้บัญชีสาม (11) กำหนดไว้ว่า การทำธุรกิจนายหน้าหรือตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นกิจการภายใต้ธุรกิจของคนต่าง ด้าวที่ต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เมื่อได้รับการอนุญาตแล้วจึงเริ่มประกอบกิจการได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะบังคับให้การประกอบธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีการขึ้นทะเบียน ทำให้เกิดปัญหาในการทำธุรกิจแข่งขันกับคนไทยในขณะที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะทำการ แข่งขันกับคนต่างด้าว เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ พบว่าเครือรัฐออสเตรเลียในรัฐวิคตอเรีย สาธารณรัฐสิงคโปร์และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามไม่มี การกำหนดสัญชาติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แสดงให้เห็นว่า บุคคลผู้มี สัญชาติใดก็สามารถเข้ามาประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศดังกล่าวได้ หากมี คุณสมบัติเพียงพอในการขอรับใบอนุญาตและสอบผ่านการวัดความรู้เกี่ยวกับนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ โดยบุคคลดังกล่าวไม่ได้หมายความถึงบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนิติบุคคล ด้วย ในขณะที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์มีกำหนดคุณสมบัติในเรื่องของสัญชาติไว้ว่าต้องเป็นมีสัญชาติ ฟิลิปปินส์เท่านั้นที่จะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ เพื่อปกป้องและสงวนอาชีพไว้ ให้ผู้ที่ประกอบอาชีพนายหน้ารวมถึงผู้ที่ประกอบธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ให้กับคนในประเทศ เท่านั้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยนั้น ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ 2522 สำหรับบุคคลธรรมดา อาชีพ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นอาชีพที่มีโอกาสในการแข่งขันและในทางเศรษฐกิจ ซึ่งในต่างประเทศ นั้นถือว่านายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดที่ออกมา ควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และคนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3