2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
101 อสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดถึงคุณสมบัติในการขึ้นทะเบียนในเรื่องของอายุ หรือวุฒิการศึกษา ในส่วน ของสัญชาตินั้น ผู้วิจัยเห็นว่าไม่ควรกำหนดให้คนในสัญชาติไทยเท่านั้นที่สามรถประกอบอาชีพนี้ได้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการแข่งขัน ซึ่งเป็นสิ่งที่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยต้อง ปรับตัวให้มีมาตรฐานและจริยธรรมในการทำงาน เพื่อให้อาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยเป็นที่ ยอมรับจากนานาประเทศ 4.3 ปัญหาการขาดองค์กรที่เข้ามาดูแลควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันประเทศไทย ผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีความสัมพันธ์และมีส่วน เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีกฎระเบียบและ กฎเกณฑ์ในการสอดส่องดูแลผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพียงแต่กฎระเบียบและ กฎเกณฑ์ดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นการเฉพาะระหว่างสมาชิกด้วยกันเท่านั้น และไม่ได้รับการรับรอง จากภาครัฐให้บังคับใช้เป็นการทั่วไปอย่างบทบัญญัติของกฎหมาย โดยหน่วยงานหรือองค์กรที่มี บทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ 1) กรมที่ดิน มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการ บังคับใช้กฎหมายจำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติช่างรังวัดเอกชน พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนด้านการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การออกหนังสือแสดง สิทธิในที่ดินและการรังวัดที่ดิน กระบวนการซื้อ ขาย เช่าหรือให้เช่านั้น นายหน้าอสังหาริมทรัพย์จะ ดำเนินการให้ผู้บริโภคเข้ามาดำเนินเรื่องติดต่อกรมที่ดินเพื่ออำนวนความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ ผู้บริโภค และ 2) สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เป็นผู้กำหนดให้บุคคลที่จะประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ จะต้องมีการสอบให้ผ่านเกณฑ์ตามที่สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้กำหนด ในส่วนของการดำเนินงานนั้นอยู่ในรูปแบบของสมาคม มีข้อบังคับนโยบายและวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริม ช่วยเหลือสนับสนุนแก่สมาชิกในด้านต่างๆ รวมทั้งประสานงานกับภาครัฐและองค์กรต่างๆ ทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีความพยายามผลักดันให้นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ไทยดำเนินงานให้มีมาตรฐานสากล มีคุณภาพและจรรยาบรรณ แต่อย่างไรก็ตามนโยบายของทาง สมาคมดังกล่าวเป็นเพียงการสนับสนุนและเชื้อเชิญให้สมาชิกของทางสมาคมนำไปปฏิบัติเท่านั้น ไม่มี สภาพบังคับและไม่มีกฎหมายรองรับ จึงก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการให้อำนาจหน่วยงานหรือองค์กรใดจะที่เข้ามาควบคุม กำกับดูแล นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพราะการที่ผู้บริโภคต้องไปแจ้งหรือ ร้องเรียนเมื่อได้รับบริการจากนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรมจากหน่วยงานของรัฐนั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีเจตนารมณ์เพื่อให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3