2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

104 สาธารณชน แต่มีวัตถุประสงค์หลักคือ การดูแลผลประโยชน์ระหว่างสมาชิกและปกป้องผู้ที่เป็น สมาชิกด้วยกันเอง และถึงจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อบังคับใช้แก่สมาชิก แต่การที่สมาชิกทุก คนมีสถานะเท่ากัน การกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อบังคับใช้แก่สมาชิก จึงทำให้สมาชิกคนอื่นๆ รู้สึก ว่าไม่เป็นธรรมและไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งการให้สมาคมเป็นผู้ควบคุมกันเอง อาจทำให้เกิดผล ประโยชน์ขัดแย้งกันในระหว่างคู่แข่งทางธุรกิจในด้านความลับทางการค้า การได้เปรียบเสียเปรียบใน การประกอบธุรกิจ หรืออาจเกิดกรณีการสมยอมกันเองเพื่อปกป้องผู้ประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์มากกว่าการคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ ดังนั้น กฎระเบียบของสมาคมส่วน ใหญ่จึงไม่มีสภาพบังคับเพื่อใช้ควบคุมผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในการ ควบคุมและจัดระเบียบนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้ดำเนินงานอย่างมีจรรยาบรรณและอยู่บน กฎเกณฑ์อันเป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออาชีพนี้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ นอกจากจะต้องมี สมาคมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของนักวิชาชีพและมีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อควบคุมนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ โดยมีสาระสำคัญเพื่อวางมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ที่จะเข้ามาประกอบอาชีพ นี้และมีบทกำหนดลงโทษในกรณีที่ปฏิบัติฝ่าฝืนข้อบังคับของกฎหมายแล้วนั้น รัฐควรจะต้องปกป้อง ผลประโยชน์ของบริโภคโดยจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเพื่อควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายแก่ ผู้ประกอบอาชีพนี้เป็นกรณีเฉพาะด้วย โดยดำเนินการก่อตั้งองค์กรควบคุมวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ ใน รูปแบบของนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวม โดยอาจจัดตั้งเป็นองค์กร หรือหน่วยงานใหม่ขึ้นมาดูแลเป็นการเฉพาะ เช่น ก่อตั้งสภาวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ หรือสภา ผู้แทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เฉกเช่นเดียวกับวงการสถาปนิก วิศวกรและแพทย์ ที่เดิมมีสมาคม สถาปนิกสยาม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ล้วนแล้วแต่เป็น สมาคมหลักใหญ่เพียงสมาคมเดียว ไม่มีสมาคมคู่แข่ง แต่ต่อมาก็ต้องตั้งสภาวิศวกร สภาสถาปนิก หรือ แพทยสภา ขึ้นมาเพื่อจัดการตรวจสอบและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพอย่างโปร่งใส่ด้วย ทั้งนี้ รัฐควรให้ อำนาจสภาควบคุมนักวิชาชีพในการออกข้อบังคับ กฎระเบียบต่างๆ เพื่อใช้ควบคุมมาตรฐานและ จรรยาบรรณของผู้ประกอบการได้โดยอิสระด้วยตนเอง จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง พบว่าเห็นด้วยกับการให้มีหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรที่เข้ามา ควบคุม กำกับดูแลนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แต่มีความเห็นแตกต่างกัน 2 แนวทาง แนวทางแรกเห็น ว่า ควรให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว เช่น กรมที่ดิน เพราะมีความใกล้ชิดกับนายหน้า อสังหาริมทรัพย์มากที่สุด เพื่อเป็นการตรวจสอบการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว หากมีการตรวจสอบ ถึงนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ว่าบุคคลใดเป็นผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้ซื้อละผู้ขายทั้งสองฝ่าย ได้เข้าตกลง เข้าทำสัญญากันในที่ดินแปลงนั้นๆ การประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงผู้ซื้อและผู้ขาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3