2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

106 พฤติกรรมหลอกลวงหรือทุจริตกับองค์กรนี้ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอีก ต่อไป ดังนั้น จึงควรยกระดับสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เป็นผู้ควบคุมดูแลนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ไทยหรือจัดตั้งสภาวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เพื่อควบคุมนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ได้ตามกฎหมาย 4.4 ปัญหาการลงโทษของผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์เปรียบเสมือนคนกลางที่ทำหน้าที่ชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้ เข้าทำสัญญากันและจะได้รับค่าบำเหน็จตามข้อตกลงก็ต่อเมื่อได้ชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้ซื้อและผู้ขาย ดังกล่าวได้เข้าทำสัญญากันสำเร็จแล้ว ตามหลักเสรีภาพในการทำสัญญาผู้ซื้อและผู้ขายมีเสรีภาพ เต็มที่ในการทำสัญญา และเมื่อได้กระทำลงโดยอิสระและด้วยความสมัครใจ หากสัญญานั้นไม่ขัดกับ หลักเรื่องความสงบเรียบร้อยของประชาชน (Public order) สัญญานั้นย่อมมีผลใช้บังคับได้ แต่ อย่างไรก็ตามนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มักกระทำหรือมีพฤติการณ์หลอกลวงผู้ซื้อหรือผู้ขายดังกล่าว เช่น กรณีที่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์เห็นว่าเจ้าของที่ดินตั้งราคาไว้ต่ำ จึงให้คนอื่นแสดงตนว่าเป็นผู้ซื้อ ทำให้เจ้าของดังกล่าวทำหนังสือมอบอำนาจไว้โดยไม่ระบุชื่อผู้ซื้อ และหาเงินชำระราคาให้กับคนขาย ไป เมื่อคนขายมอบโฉนดที่ดินให้มาก็นำหนังสือมอบอำนาจมาจดทะเบียนโอนให้กับตนเอง หรือโอน ตรงไปยังคนซื้อที่นายหน้าได้หาเตรียมไว้แล้ว กรณีที่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์กดราคาผู้ขาย เพื่อนำไป โก่งราคากับผู้ซื้อ เช่น ที่ดินแปลง ราคา 100 ล้านบาท นายหน้านำไปบอกขายราคา 200 ล้านบาท เมื่อขายได้ เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวก็รับเงิน 100 ล้านบาท โดยผู้ซื้อต้องจ่ายถึง 200 ล้านบาท ส่วน ต่างของราคาซื้อและราคาขายมูลค่า 100 ล้านบาท เป็นต้น เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องฟ้องร้องบังคับคดีกัน ทางแพ่งหรือทางอาญา จากกรณีดังกล่าวเป็นการดำเนินคดีลงโทษนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในฐานความผิดส่วนตัว เท่านั้น แต่ในส่วนของความผิดต่อการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไม่มีกฎหมายใดที่ กำหนดโทษไว้โดยตรง ซึ่งในระบบกฎหมายไทย โทษทางอาญาถือเป็นโทษที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับโทษทางแพ่งหรือโทษทางปกครอง ทั้งนี้ เพราะโทษ จำคุกเป็นโทษทางอาญาที่มุ่งกระทำต่อเนื้อตัวร่างกายของผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลัก ของโทษทางอาญา ส่วนโทษปรับ และการริบทรัพย์สิน เป็นเพียงบทลงโทษในทางทรัพย์สินซึ่งเป็น มาตรการเสริมในการลงโทษทางอาญาเท่านั้น (อภิวัฒน์ สุดสาว, 2561) ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับนายหน้ามีเพียงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น และสำหรับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไม่มีกฎหมายใดออกมาใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ทำให้ผู้ใดก็ สามารถเข้ามาประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ เมื่อผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวมีพฤติกรรมที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3