2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

107 ไม่เหมาะสมหรือทำการทุจริตหลอกลวง มีประวัติอาชญากรรม ก่อให้เกิดความเสียหายและเดือดร้อน แก่ผู้บริโภค จึงทำให้ผู้บริโภคต้องไปดำเนินการฟ้องร้องคดีแพ่งซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากไม่มีการลงโทษทางอาญาหรือการลงโทษทางวิชาชีพ แก่ผู้ประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การกำหนดโทษทางปกครองจึงเป็นมาตรการที่ใช้ในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย กล่าวคือ การประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้อง ได้รับใบอนุญาตก่อนดำเนินการต่างๆ หากภายหลังพบว่า มีผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ กฎหมายกำหนด หน่วยงานหรือองค์กรที่มีอำนาจควบคุมดูแลจะดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตหรือมี คำสั่งการพักใช้ใบอนุญาตในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ในการ กำหนดโทษทางแพ่งก็มีส่วนสำคัญเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกับโทษทางอาญา กล่าวคือ โทษทางแพ่งเป็นมาตรการลงโทษทางการเงิน ซึ่งมีสาระไปในทำนองเดียวกับโทษปรับในทางอาญาใน กรณีที่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ผู้นั้นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายที่กำหนด ในส่วนของกฎหมายไทยที่บัญญัติถึงบทลงโทษเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีกระจัด กระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ,พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาพ.ศ. 2551 , พระราชบัญญัติการ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542, ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบทลงโทษที่มีโทษปรับเป็นเงิน นอกจากนี้ ยังมีบันทึกข้อตกลงร่วมสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยว่าด้วย จรรยาบรรณนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นจรรยาบรรณสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของ ทางสมาคม หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณดังกล่าว ให้ถือว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณ จะ เห็นได้ว่า เมื่อไม่มีกฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ออกมาควบคุมเป็นการเฉพาะ ทำให้ผู้บริโภคต้อง เผชิญกับความเสี่ยงจากการถูกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์หลอกลวงทุจริต ดังกรณีเช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 1866/2543 จำเลยมีเจตนาทุจริตนำชี้ที่ดินแปลงของผู้อื่นเพื่อ หลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นที่ดินของจำเลยที่ประสงค์จะขายฝากแก่ผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ และรับซื้อฝากที่ดินแปลงของจำเลยไว้ จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 จากกรณีดังกล่าว แม้จะมีโทษทางอาญาในส่วนของโทษจำคุกหรือโทษปรับ แต่ไม่มีโทษที่ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ดังนั้น ผู้กระทำความผิดก็ยังสามารถประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ต่อไปได้ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ พบว่า เครือรัฐออสเตรเลียในรัฐวิคตอเรียมีการกำหนดโทษของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ โดยหากไม่มี ใบอนุญาตหรือละเมิดตามบทบัญญัติของกฎหมาย The Estate Agent Act 1980 ถือเป็นความผิด อาญา มีโทษปรับไม่เกิน 500 หน่วยสำหรับบุคคลธรรมดา หรือ 1,000 หน่วยสำหรับนิติบุคคล หรือ จำคุก 12 เดือน ซึ่งมูลค่าของหน่วยลงโทษคือ 192.31 ดอลลาร์สำหรับงบประมาณปี 2566 หรือผู้ใด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3