2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

108 ให้การช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ ผู้นั้นถูกปรับ 500 หน่วย และถูกพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์ก็มีการกำหนดโทษของ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไว้เช่นกัน จะมีทั้งโทษปรับ จำคุกหรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงอาจจะถูกพักงาน หรือเพิกถอนใบอนุญาตหรือเพิกถอนการขึ้นทะเบียนอีกด้วย นอกจากนี้ หากผู้ที่ไม่ผ่านการสอบ ใบอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาต แต่กระทำการเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องระวางโทษปรับไม่ เกิน 75,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากยังคงฝ่าฝืนต่อไปอีก จะต้องระวางโทษปรับอีกไม่เกินอัตราวันละ 7,500 เหรียญสิงคโปร์ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน สำหรับ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ตามกฎหมาย The Real Estate Service Act of the Philippines 2009 มาตรา 39 ได้กำหนดว่าผู้ประกอบวิชาชีพอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่ามี ความผิดฐานฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่น้อยกว่า 100,000 เปโซฟิลิปปินส์ หรือ จำคุกไม่น้อยกว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม หากผู้กระทำความผิดไม่มีใบอนุญาตจะต้องระวางโทษเป็นสอง เท่า และสำหรับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามนั้น ไม่พบว่ามีการกำหนดโทษของการฝ่าฝืนสำหรับ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ใน The Law on Real Estate Trading 2014 จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง พบว่าเห็นด้วยในการกำหนดให้มีการลงโทษกับนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ที่มีพฤติกรรมหลอกลวงผู้บริโภคซึ่งเป็นจรรณยาบรรณของอาชีพนี้ให้เป็นผู้มีคุณธรรม และซื่อสัตย์สุจริตโดยบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน คือ ว่ากล่าวตักเตือนหรือถูกพักหรือเพิกถอนการขึ้น ทะเบียนเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ และระวางโทษปรับไว้เป็นการกำหนดโทษทางปกครองและ โทษทางอาญา จากบทสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างมีดังนี้ “ควรมีออกกฎหมายการลงโทษทางอาชีพนี้ด้วย เพราะการที่ผู้บริโภคไปดำเนินการฟ้องร้องเอง ไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งและอาญา ผู้กระทำผิดก็ยังคงประกอบอาชีพนี้ต่อไปได้” “ควรมีใบอนุญาตเหมือนนายหน้าประกันชีวิต มีการพักใบอนุญาต หรือเพิกถอนกรณีที่นายหน้า นั้นมีความประพฤติไม่เหมาะสมหรือกระทำความผิด” ผู้วิจัยเห็นว่า การลงโทษผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญานั้น ไม่เหมาะสม เช่นกรณีความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ กล่าวคือ ความผิดที่กระทำ แล้วมีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำโดยตรงเท่านั้นไม่กระทบต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นผู้ที่ถูกกระทำอาจไม่ ติดใจเอาความหรือดำเนินคดีกับผู้กระทำ และรัฐก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ทำให้ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่มีพฤติกรรมหลอกลวงทุจริตยังคงประกอบอาชีพนี้ต่อไปได้ ดังนั้น จึงควรมี การกำหนดบทลงโทษสำหรับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แยกไว้เป็นการเฉพาะ ทั้งโทษปรับหรือจำคุก รวมถึงโทษทางปกครองในการพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3