2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดยคิดเป็น 8% ของผลิตภัณฑ์มวล รวมของประเทศไทย (Gross Domestic Product) มีเม็ดเงินหมุนเวียนมากและการลงทุนสูง โดย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นอีกหลายประเภท เช่น ก่อสร้าง สถาบันการเงิน วัสดุ ก่อสร้าง เป็นต้น (กรุงเทพธุรกิจ, 2564) โดยการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นหมายถึงอสังหาริมทรัพย์ ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้านมือสอง คอนโดมิเนียม อาคารชุด เป็นต้น การทำนิติกรรมดังกล่าวมี ความสำคัญต่อภาคธุรกิจการเงินเป็นอย่างมาก เนื่องจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องอาศัยเงินทุน ก้อนใหญ่ ซึ่งผู้ซื้อจำนวนมากจำเป็นต้องอาศัยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ทั้งยังส่งต่อผลกระทบกับ ธุรกิจการก่อสร้างต่อนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และภาคครัวเรือนหลายล้านครอบครัวที่ยังไม่มีบ้าน ของตนเอง และประสงค์จะครอบครองบ้านเป็นของตนเอง รวมถึงเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของ ตนเอง เนื่องจากสถาบันการเงินและภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการ ทำธุรกรรมที่ดิน (ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, 2563) นอกจากนี้ การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นนิติกรรม สัญญาอย่างหนึ่งที่นิยมกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ไม่ต้องการที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งถาวร ซึ่งผู้ต้องการขาย ซื้อหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มักไม่มีคนรู้จักและไม่รู้วิธีบอกขาย จึง จำเป็นต้องมีบุคคลที่สาม นั้นก็คือ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เข้ามาเป็นคนกลางหรือผู้ชี้ช่องให้บุคคล อีกฝ่ายหนึ่งเข้าทำสัญญากับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง โดยทั่วไปเจ้าของอสังหาริมทรัพย์อาจทำการขายหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ได้เอง โดยการลงทุน ทำการโฆษณา ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณา หรือทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น แต่การที่ ให้นายหน้า อสังหาริมทรัพย์เข้ามาทำนิติกรรมดังกล่าวนั้นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา ซึ่งนายหน้า อสังหาริมทรัพย์นั้นมีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยหน้าที่หลักจะเป็นการไปติดต่อเจรจากับผู้ซื้อ และผู้ขายเพื่อทำสัญญาตกลงกัน และได้รับค่าตอบแทนจากการที่ได้ชี้ช่องสำเร็จตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้านั้นมีเพียงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 16 นายหน้า ซึ่งบัญญัติไว้เพียงสิทธิและหน้าที่ของนายหน้าทั่วๆไป โดยคำว่านายหน้านั้น ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดนิยามไว้โดยเฉพาะ เพียงแต่เป็นสัญญานายหน้าซึ่งเป็นผู้ชี้ช่องให้บุคคลหนึ่ง เข้าทำสัญญากับอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันของอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากเป็นอาชีพเสริมที่บุคคลใดก็สามารถประกอบอาชีพนี้ได้ ไม่มี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3