2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
109 ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์รวมถึง เปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป เครือรัฐออสเตรเลียในรัฐวิคตอเรีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์และ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามนั้น พบว่าต่างก็มีกฎหมายควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นการ เฉพาะโดยมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะขอรับใบอนุญาต มีองค์กรที่เข้ามาควบคุมดูแล รวมถึงมี มาตราการในเชิงป้องกันสำหรับผู้บริโภคที่สามารถตรวจสอบการขึ้นทะเบียนของนายหน้า อสังหาริมทรัพย์เพื่อให้มีความมั่นใจในการใช้บริการและมาตรการลงโทษทั้งทางปกครองและทาง อาญาให้กับผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการถูกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์หลอกลวงทุจริต แต่ สำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายโดยตรงในการลงโทษผู้ประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวมถึงประมวลกฎหมายอาญามาใช้ บังคับ เมื่อผู้บริโภคแจ้งความร้องทุกข์ หรือฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และก็เป็นการ เสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในส่วนของคดีแพ่งเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้วจำเลยอาจไม่มี ทรัพย์สินที่จะบังคับคดีขายทอดตลาดนำเงินมาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภค
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3