2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

111 ของผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือทุจริตหลอกลวง สามารถ อภิปรายผลการวิจัยในข้อต่อไปนี้ 5. 2 อภิปรายผล 5.2.1 ปัญหาการตรากฎหมายควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จากการศึกษาพบว่า ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 40 ได้ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชน ในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นยังไม่มีกฎหมายใดออกมาควบคุม จึงทำให้ ประชาชนทั่วไปก็สามารถเข้ามาประกอบอาชีพนี้ได้ เพราะไม่มีการกำหนดคุณสมบัติในเรื่องของอายุ วุฒิการศึกษา รวมไปถึงประวัติอาชญากรรมของผู้ที่จะเข้ามาประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ และอาชีพนี้มีต้นทุนต่ำเนื่องจากเป็นผู้ให้บริการขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนสูง จึงเป็นปัญหาที่ทำให้ ผู้บริโภคถูกหลอกลวงและทุจริตจากนายหน้าอสังหาริมทรัพย์อยู่เสมอ โดยกฎหมายที่ใช้บังคับ เกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันนั้นมีเพียงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติถึง สาระสำคัญของนายหน้าทั่วไปเท่านั้น ประกอบกับพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญาเป็นการเฉพาะ เพื่อมิให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอา เปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจผ่านสัญญาสำเร็จรูป เพราะสัญญาการแต่งตั้งนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคที่มีอำนาจต่อรองเศรษฐกิจด้อยกว่า ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อ ผู้ใช้บริการผ่านนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งการดำเนินงานของผู้ประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ด้วยกันเองก็ไม่มีมาตรฐานและจรรยาบรรณตามบันทึกข้อตกลงร่วมสมาคมนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ไทยว่าด้วยจรรยาบรรณของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2544 เนื่องจากมีผลเพียงผู้ ที่เป็นสมาชิกตามข้อบังคับสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยเท่านั้น ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย จึงนำไปสู่ปัญหาในทางปฏิบัติจนมีการฟ้องร้องคดีไปสู่ศาล ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น 2 ประเด็นดังต่อไปนี้ 1) การคุ้มครองนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ทำการชี้ช่องให้ คู่สัญญาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเข้าทำสัญญากัน นายหน้าดังกล่าวมักถูกคู่สัญญาผิดนัดไม่ยอมชำระค่า บำเหน็จนายหน้า และไปสัญญาลับหลังกันระหว่างคู่สัญญาเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่านายหน้า กล่าวคือ เป็นปัญหาหลังจากการที่นายหน้าได้มีการชี้ช่องให้คู่สัญญาเข้าทำสัญญากันสำเร็จแล้ว และ สัญญานายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีการกำหนดแบบไว้อย่างชัดเจนและสัญญาดังกล่าวมักทำด้วย วาจา ส่งผลให้ผู้ที่ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นี้ไม่มีมาตรฐานในการทำงาน รวมถึง ผู้บริโภคเองก็ไม่ได้ให้ความเชื่อมั่นและไว้ใจต่ออาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นประเด็นในทาง ปฏิบัติที่มักมีการผิดนัดชำระค่านายหน้าอยู่เสมอ จะเห็นได้ว่าเมื่อไม่มีกฎหมายออกมาควบคุม นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ก็ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับในการฟ้องร้องคดี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3