2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

112 ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อีกทั้งยังส่งผลกับผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ด้วยกันเองเนื่องจากไม่มี กฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และยังส่งผลกระทบไปถึงผู้บริโภคที่ใช้บริการผ่านนายหน้า อสังหาริมทรัพย์อีกด้วย ดังนั้น เพื่อให้นายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีมาตรฐานในการประกอบอาชีพและ ให้ผู้บริโภคได้รับความเชื่อมั่นและไว้ใจ จึงจำเป็นต้องมีตรากฎหมายควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จากการศึกษากฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น เครือรัฐออสเตรเลีย ในรัฐ วิคตอเรียได้มีการออกพระราชบัญญัติควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ คือ The Estate Agent Act 1980 และในระบบกฎหมายลักษณะจารีตประเพณี (Common Law) ได้แก่ สาธารณรัฐสิงคโปร์ได้มี กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและกำกับดูแลตัวแทนหรือนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยมีการตรา พระราชบัญญัตินายหน้าอสังหาริมทรัพย์ The Estate Agents Act 2010 ส่วนระบบกฎหมายลาย ลักษณ์อักษร (Civil Law) นั้น ได้แก่ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้มีการออกพระราชบัญญัติควบคุม น ายห น้ าอสั งห า ริมท รัพ ย์ The Real Estate Service Act of the Philippines 2009 แล ะ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้มีการออกกฎหมายที่กำหนดมาตรการควบคุมนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ คือ The Law on Real Estate Trading 2014 จะเห็นได้ว่ากฎหมายควบคุม นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศนั้นมีการตราเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติทั้งหมด ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรตรากฎหมายควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นพระราชบัญญัติเฉพาะ แยกออกจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายหน้าทั่วไป ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจะเป็นการสร้าง ระบบมาตรฐานของอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้มีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจาก ประชาชนมากยิ่งขึ้น 2) การให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์หลอกลวงและทุจริต โดย การทำสัญญานายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นลายลักษณ์อักษรและสัญญาดังกล่าวมีการกำหนดข้อตกลง และเงื่อนไขต่างๆไว้อย่างเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรับผิดของนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ การผิดสัญญา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีความ พยายามในการผลักดันร่างพระราชบัญญัตินายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เมื่อเทียบ กับนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าหลักทรัพย์ เป็นอาชีพที่ต้องขึ้น ทะเบียนและมีการออกกฎหมายโดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติและการลงโทษรวมถึง หน่วยงานหรือองค์กรที่เข้ามาดูแล เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองและเป็นธรรม แต่สำหรับอาชีพ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีกฎหมายใดออกมาควบคุมเป็นการเฉพาะ ทำให้ผู้ใดก็สามารถเข้ามา ประกอบอาชีพนี้ได้ ส่งผลให้ขาดการคัดกรองนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่มีความรู้ ความสามารถและ ขาดจรรยาบรรณ ทำให้ผู้บริโภคต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการถูกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ หลอกลวงหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จากการศึกษากฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3