2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

115 ส่วนคุณสมบัติในเรื่องของสัญชาติ เป็นปัญหาว่าบุคคลผู้มีสัญชาติใดก็สามารถเข้ามาประกอบ อาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ จากการศึกษากฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ต่างประเทศ พบว่าเครือรัฐออสเตรเลียในรัฐวิคตอเรีย สาธารณรัฐสิงคโปร์และสาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนามไม่มีการกำหนดสัญชาติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แสดงให้เห็นว่า บุคคลผู้มีสัญชาติใดก็สามารถเข้ามาประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศดังกล่าวได้ หากมีคุณสมบัติเพียงพอในการขอรับใบอนุญาตและสอบผ่านการวัดความรู้เกี่ยวกับนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ โดยบุคคลดังกล่าวไม่ได้หมายความถึงบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนิติบุคคล ด้วย ในขณะที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์มีกำหนดคุณสมบัติในเรื่องของสัญชาติไว้ว่าต้องเป็นมีสัญชาติ ฟิลิปปินส์เท่านั้นที่จะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ เพื่อปกป้องและสงวนอาชีพไว้ ให้ผู้ที่ประกอบอาชีพนายหน้ารวมถึงผู้ที่ประกอบธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ให้กับคนในประเทศ เท่านั้น ประเทศไทยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ 2522 สำหรับบุคคลธรรมดาไว้ ซึ่งอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นอาชีพที่มีโอกาสในการ แข่งขันและในทางเศรษฐกิจ ในต่างประเทศนั้นถือว่านายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดที่ออกมาควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และคนต่างด้าว ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตาม กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ก็สามารถเข้ามาประกอบอาชีพนี้ได้ โดยเข้ามาในรูปแบบของการ ท่องเที่ยวหรือเดินทางผ่านราชอาณาจักร แม้อาชีพนายหน้านี้จะประกาศห้ามคนต่างด้าวทำตาม มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และต้องได้รับใบอนุญาตทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงาน ของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 แล้วเท่านั้น คนต่างด้าวถึงจะประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ ประกอบกับพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ 2542 สำหรับนิติบุคลที่ ดำเนินการเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดย ความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพราะถือเป็นกิจการภายใต้ธุรกิจ ของคนต่างด้าวควบคุมตามที่กำหนดไว้ในบัญชีสาม (11) ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของ คนต่างด้าว พ.ศ 2542 ดังนั้นควรมีการออกกฎหมายหรือมาตรการที่กำหนดอย่างชัดเจนอย่างเป็น ระบบและมีประสิทธิภาพจะเป็นการส่งผลดีกับเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศไทย เพราะประเทศ ไทยมีการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจเป็นอย่างมาก เดิมทีมีบริษัทต่างชาติที่ เข้ามาประกอบธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้ว ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่ต้องปกป้องหรือสงวน อาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ให้บุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น 5.2.3 ปัญหาการขาดองค์กรที่เข้ามาดูแลควบคุมผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จากการศึกษานั้นพบว่า ผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีความใกล้ชิดกับทางกรมที่ดิน เพราะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ด้วยกันกับผู้ซื้อ และทางสมาคมนายหน้า

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3