2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
117 ต่างก็มีหน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่ดูแลกำกับและควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในส่วนของ การออกใบอนุญาตและการจดทะเบียน ออกกฎระเบียบและควบคุมการปฏิบัติงาน ส่งเสริมความ ซื่อสัตย์ รวมถึงจัดการสอบและพัฒนาหลักปฏิบัติ จริยธรรม และความประพฤติของนายหน้า อสังหาริมทรัพย์นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ดำเนินการสอบสวนและดำเนินการทางวินัยเกี่ยวกับความผิด และพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์หรือผิดจริยธรรมอันเนื่องมาจากงานของตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงพัฒนาการมาตรการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค ดังนั้น ประเทศไทยควร ยกระดับสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ควบคุมดูแลนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยหรือจัดตั้ง สภาวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เพื่อควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ตามกฎหมาย เนื่องจาก ทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยมีระบบการตรวจสอบและการคัดกรองของผู้ประกอบอาชีพนี้ ไว้อยู่แล้ว ทั้งยังมีการกำหนดข้อบังคับ รวมถึงจรรยาบรรณและนโยบายต่างๆที่ส่งเสริมสนับสนุน นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย ให้มีทิศทางในการทำงานเดียวกัน รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นต่ออาชีพ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ขณะเดียวกันก็จัดตั้งสภาวิชาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์เพื่อออกกฎหมายควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้มีมาตรฐานและผู้บริโภคสามารถ ดำเนินการร้องเรียนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่มีพฤติกรรมหลอกลวงหรือทุจริตกับองค์กรนี้ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอีกต่อไป 5.2.4 ปัญหาการลงโทษของผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จากการศึกษาพบว่า กฎหมายไทยที่บัญญัติถึงบทลงโทษเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีกระจัดกระจายอยู่ใน กฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542, พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาพ.ศ. 2551, พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของ คนต่างด้าว พ.ศ. 2542, บันทึกข้อตกลงร่วมสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยว่าด้วย จรรยาบรรณ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นบทลงโทษที่มีโทษปรับเป็นเงิน นอกจากนี้ยังมี จรรยาบรรณสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จรรยาบรรณดังกล่าว ให้ถือว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณ จะเห็นได้ว่า เมื่อไม่มีกฎหมายนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ออกมาควบคุมเป็นการเฉพาะ ทำให้ผู้บริโภคต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการถูก นายหน้าอสังหาริมทรัพย์หลอกลวงทุจริต จากการศึกษากฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ต่างประเทศ พบว่าเครือรัฐออสเตรเลียในรัฐวิคตอเรียมีการกำหนดโทษของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ไว้ โดยหากไม่มีใบอนุญาตหรือละเมิดตามบทบัญญัติของกฎหมาย The Estate Agent Act 1980 ถือ เป็นความผิดอาญา หรือผู้ใดให้การช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตัวแทน อสังหาริมทรัพย์ ผู้นั้นถูกปรับและถูกพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์ก็มีการ กำหนดโทษของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไว้เช่นกัน จะมีทั้งโทษปรับ จำคุกหรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึง อาจจะถูกพักงานหรือเพิกถอนใบอนุญาตหรือเพิกถอนการขึ้นทะเบียนอีกด้วย นอกจากนี้ หากผู้ที่ไม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3