2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

2 ข้อจำกัดในเรื่องของเพศ อายุ หรือวุฒิการศึกษา เป็นต้น อีกทั้งมีต้นทุนต่ำเนื่องจากเป็นผู้ให้บริการ ขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนสูง นอกจากนี้ยังมีกฎหมายเฉพาะ ได้แก่ พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ 2535 พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ 2535 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ พ.ศ 2535 ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัยและ นายหน้าหลักทรัพย์ตามลำดับไว้โดยเฉพาะ นอกจากนี้นายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีหลายประเภท เช่น นายหน้าขายที่ดินเปล่าเพื่อทำโครงการบ้านจัดสรร นายหน้าขายบ้านพร้อมที่ดิน เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ หอพัก โรงแรม นายหน้าประเภทค้าที่ดิน ประเภทอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน โกดัง นายหน้าประเภทที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นสวน ยางพารา สวนทุเรียน เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าอาชีพนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แต่กลับไม่มีกฎหมาย ใดที่ออกมาควบคุมผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว แม้ที่ผ่านมาทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีความ พยายามในการผลักดันร่างพระราชบัญญัตินายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ (ผู้จัดการ รายวัน, 2557) ดังนั้น เมื่อไม่มีกฎหมายใดที่กำกับ ควบคุม ดูแลนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ส่งผลกระทบ ในประเด็นปัญหาดังต่อไปนี้ 1.ปัญหาการตรากฎหมายควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันยังไม่มีการออกฎหมายใด ออกมาควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เหมือนดังเช่นนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกัน วินาศภัยและนายหน้าหลักทรัพย์ จึงทำให้อาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นี้ไม่มีมาตรฐานและไม่เป็นที่ ยอมรับ ทำให้ผู้บริโภคมักถูกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์หลอกลวงหรือเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ เช่น หลอกให้โอนที่ดินแล้วก็หายตัวไปรวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 10 ล้านบาท ( มติชนออนไลน์ , 2566) บริษัทอสังหาริมทรัพย์หลอกขายที่ดินจัดสรรทิพย์ผ่อนฟรีไม่มีโฉนดอยู่จริงสูญเสียเงินรวมกว่า 50 ล้าน บาท (กรุงเทพธุรกิจ, 2564) นายหน้าหลอกเอาที่ดิน 8 แปลงไปจำนอง ขายฝากในราคา 70 ล้านบาท (ไทยรัฐ, 2566) จะเห็นได้ว่านายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่มี มูลค่าสูง แต่เมื่อไม่มีกฎหมายควบคุมเป็นการเฉพาะ ทำให้ผู้บริโภคต้องไปดำเนินการฟ้องร้องคดีทาง แพ่งหรือทางอาญาซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อีกทั้งการที่ผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครองจาก การถูกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องไปร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อขอ ความเป็นธรรมจากการกระทำของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว 2.ปัญหาการขึ้นทะเบียนเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นการยืนยันตัวตนเพื่อให้ผู้บริโภค ได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการดำเนินการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หาก ไม่มีการขึ้นทะเบียนดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการถูกนายหน้าหลอกลวง ไม่ ว่าจะเป็นการโฆษณาประกาศขายทางสถานที่ต่างๆ หรือทางอินเทอร์เน็ตซึ่งเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและ จำนวนมาก อีกทั้งที่อยู่อาศัยเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมากในช่วงชีวิตของบุคคลหนึ่งอาจจะไม่เคยมี โอกาสได้ซื้อสักครั้งก็มี เมื่อมีโอกาสจะได้ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยหรือประกอบอาชีพ (สิฐิ์วิภา หาญศึกษา,

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3