2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

3 2542) จึงต้องให้ความเป็นธรรมในการคุ้มครองกับผู้บริโภค นอกจากนี้แม้ทางสมาคมจะมีการจัดสอบ ขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็มีผลเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกของทางสมาคมเท่านั้น ปัจจุบันสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีสมาชิกมากกว่า 3,700 ราย ประกอบไปด้วยสมาชิกสามัญ ได้แก่ นิติบุคคลที่ประกอบวิสาหกิจประเภทเกี่ยวกับธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์อยู่ประมาณ 500 บริษัท และสมาชิกสมทบที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์อิสระ ประมาณ 3 ,200 ราย (Thai Real Estate Broker Association, 2564) ซึ่งผู้ที่ไม่ได้รับการขึ้น ทะเบียนเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่มีกฎหมายบังคับ ส่งผลให้ ผู้ใดก็สามารถเข้ามาประกอบอาชีพนี้ได้ แม้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รวมไปถึงการมีประวัติอาชญากรรมและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ 3.ปัญหาการขาดองค์กรที่เข้ามาดูแลควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ มีทั้งหน่วยงานของรัฐและ เอกชน ซึ่งผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีความใกล้ชิดกับทางกรมที่ดิน เพราะต้องไป ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ด้วยกันกับผู้ซื้อ และทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็น เป็นผู้กำหนดให้บุคคลที่จะประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จะต้องมีการสอบให้ผ่านเกณฑ์ ตามที่สมาคมกำหนด แต่ในการควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีกฎหมายใดที่ให้อำนาจ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรภาคเอกชนเป็นผู้ดูแลไว้ แม้ทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์จะเป็นผู้ จัดสอบในการขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตรวมไปถึงการเพิกถอน แต่ก็มีผลเพียงสมาชิกเท่านั้น ทำให้ เกิดความลักลั่นระหว่างผู้ที่ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 4.ปัญหาการลงโทษของผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากมีผู้บริโภคจำนวน มากที่ถูกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์หลอกลวง โดยมูลค่าความเสียหายนั้นตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลัก ล้าน ซึ่งเป็นผลมาจากไม่มีกฎหมายที่ลงโทษผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่มีพฤติกรรมไม่ สุจริต หากมีการฟ้องร้องคดีก็เป็นเพียงคดีแพ่ง ไม่มีการลงโทษทางอาญาหรือการลงโทษทางวิชาชีพ ดังนั้น ปัญหาดังกล่าว เป็น เกิดจากการไม่มีกฎหมายที่กำกับ ควบคุม ดูแลนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นในการศึกษาวิจัยนี้ จึงได้ศึกษาเรื่องมาตรการในการควบคุมนายหน้ า อสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองจากการถูกนายหน้าหลอกลวง 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาหรืออุปสรรคในการควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 1.2.3 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ทั้งในไทยและต่างประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3