2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
6 อยู่ในมือของนายหน้า เช่น กิจการประกันภัย กิจการตลาดหลักทรัพย์ กิจการพาณิชยนาวี กิจการ การเงิน (ประสิทธิ โฆวิไลกูล, 2556) ซึ่งก็รวมถึงกิจการที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น สัญญาตัวแทนนายหน้าไม่มีปรากฏในกฎหมายยุคเก่า เนื่องจากตาม กฎหมายเก่าของไทยนั้น ในการทำสัญญาคู่สัญญาจะต้องปรากฏตัวในการทำสัญญาเสมอ สัญญาส่วน ใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการส่งมอบทรัพย์ที่เรียกว่า ทรัพย์-สัญญา ซึ่งจะมีผลสมบูรณ์เมื่อฝ่ายหนึ่งส่งมอบ สิ่งของให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ดังนั้น หากบุคคลหนึ่งส่งบุคคลอีกคนหนึ่งไปทำสัญญาแทน บุคคล เหล่านี้เองจะต้องผูกพันตามสัญญา เช่น เมื่อนายใช้ทาสให้ไปทำการค้า ทาสผู้นั้นเองที่ต้องรับผิด โดยตรงในสมัยกรุงศรีอยุธยา การตั้งตัวแทนหรือนายหน้า กระทำโดยใช้สัญญาจ้าง หรือสัญญาวาน แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก เช่น พระอัยการเบ็ดเสร็จ บทที่ 111 กล่าวถึงกรณีที่บุคคลหนึ่งวานให้อีก บุคคลหนึ่งซื้อสินค้าให้แก่ตนเองและบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้ซื้อไม่รับชำระสินค้านั้น ศาลจะได้เอาตัวผู้วานให้ มาซื้อ ถ้าผู้วานไม่ยอมรับชำระราคาสินค้านั้นต้องถูกปรับไหมเป็นทวีคูณ เป็นต้น (สมศักดิ์ โตรักษา, 2541) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อไทยได้มีการปฏิรูปกฎหมายให้มีความเจริญทัดเทียมกับนานา อารยประเทศและมีการตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น ผู้สอนกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งส่วนใหญ่ จบการศึกษามาจากประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงสถาปนา โรงเรียนกฎหมายขึ้นในกระทรวงยุติธรรมในสมัยนั้น ก็ทรงสำเร็จวิชากฎหมายมาจากประเทศอังกฤษ ดังนั้น จึงได้มีหลักกฎหมายของอังกฤษ ซึ่งก็คือ กฎหมายตัวแทนมาสอนในโรงเรียนกฎหมาย และ นอกจากสัญญาตัวแทนแล้ว ในทางปฏิบัติได้เอาสัญญานายหน้าและทรัสต์ (Trust) มาใช้ด้วย ซึ่งศาลก็ ได้ยอมรับโดยถือเอาเป็นตำราและคำสอน หลังจากนั้น ประเทศไทยได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2472 โดยได้มีการบัญญัติเรื่องตัวแทนและนายหน้าไว้ แต่ข้อใหญ่ใจความในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวโดยเฉพาะในเรื่องตัวแทนนั้น ก็ยังอยู่ในแนวเดียวกับกฎหมาย อังกฤษ แม้จะแตกต่างไปบ้างก็เป็นส่วนน้อย (สุทธิมนต์ นฤนาทหลวง, 2511) นอกจากนั้น หากศึกษา ดูจากดรรชนีที่มาของกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ถึง บรรพ 5 ของพระยา มานวราชเสวีแล้ว ก็จะพบว่า นอกจากกฎหมายอังกฤษแล้ว ก็ยังมีกฎหมายฝรั่งเศส กฎหมายเยอรมัน กฎหมายสวิส และกฎหมายญี่ปุ่น ที่เป็นที่มาของตัวบทในเรื่องตัวแทนและนายหน้าของไทยด้วย จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับตัวแทนและนายหน้าของไทยนั้นมีเพียงประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์เท่านั้น โดยเป็นการบังคับใช้เกี่ยวกับนายหน้าทั่วไปๆ แต่ในปัจจุบันมีนายหน้าเกิดขึ้น ใน หลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจประกันภัยและธุรกิจหลักทรัพย์ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าคือ พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ 2535 พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ 2535 และ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3