2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
16 ข้อ 28 การร่วมกันขายระหว่างนายหน้า 2 ราย (CO-BROKE) ห้ามมิให้นายหน้าติดต่อกับ บุคคลที่มิใช่เป็นลูกค้าของตนเอง โดยจะต้องติดต่อเจรจาฝ่ายนายหน้าผู้ดูแลรับผิดชอบลูกค้ารายนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายหน้าอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อน ข้อ 29 ค่าบำเหน็จที่ได้จากการร่วมกันขายระหว่างนายหน้า 2 ราย (CO-BROKE) ให้แบ่ง ครึ่งเท่า ๆ กัน เว้นแต่ตกลงเป็นอื่นล่วงหน้า ข้อ 30 รายได้ทุกชนิดที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน นายหน้าพนักงาน (AGENT) มีหน้าที่ แจ้ง และนำส่งให้แก่สำนักงานนายหน้าทั้งหมดโดยทันที เว้นแต่จะตกลงเป็นอื่นล่วงหน้า สำหรับนโยบายของสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้แก่ 1) ผลักดันกฎหมายอันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์และสาธารณชน 2) ส่งเสริมวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยจัดการอบรมและสัมมนาเพื่อเป็นการ ยกระดับมาตรฐานและเสริมสร้างจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 3) ส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยนำระบบเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัยมา เป็นเครื่องมือในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ 4) ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายอันเกี่ยวข้องกับธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 5) ส่งเสริมการสร้างบทบาทอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นที่ยอมรับต่อ สาธารณชน 2.1.3 ความแตกต่างระหว่างนายหน้ากับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยทั่วไปมักเข้าใจว่านายหน้าและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีลักษณะที่เหมือนกันและ เรียกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ว่านายหน้า ซึ่งในความหมายของนายหน้านั้นไม่เฉพาะเจาะจงถึง นายหน้าอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ยังมีนายหน้าอีกหลายประเภท เช่น นายหน้าประกันชีวิต นายหน้า ประกันวินาศภัย นายหน้าหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างกันระหว่าง นายหน้าทั่วไปกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ มีดังต่อไปนี้ 1) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของนายหน้าทั่วไป เท่านั้น ไม่ได้มีการแบ่งประเภทกิจการของนายหน้าเหมือนดังพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ 2535 พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ 2535 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ 2535 ขณะที่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ยังคงใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และยังมี กฎหมายอื่นที่บัญญัติถึงนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ เช่น พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ .ศ . 2542, พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ .ศ . 2551, พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 2) นายหน้าทั่วไปนั้นไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมการดำเนินงานตามกฎหมายเฉพาะ ยกเว้นนายหน้าบางประเภทที่ต้องใช้กฎหมายพิเศษบังคับ เช่น นายหน้าประกันชีวิตตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3