2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

17 พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ 2535 นายหน้าประกันวินาศภัยตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ 2535 และนายหน้าหลักซื้อขายทรัพย์ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ 2535 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีการกำหนดสาระสำคัญในเรื่องของคุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ มีจัด สอบเพื่อขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวรวมไปถึงกำหนดบทลงโทษของผู้ที่ฝ่าฝืน และองค์กรที่เข้ามากำกับควบคุมดูแล เป็นต้น 3) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2554 นายหน้า หมายความถึง บุคคลผู้ชี้ ช่องหรือจัดการให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้เข้าทำสัญญากันโดยจะได้รับค่าบำเหน็จเป็นการตอบแทน ส่วน นายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ได้มีการกำหนดคำนิยามไว้ชัดเจนในกฎหมายใดๆของประเทศไทย ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดออกมาควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นการ เฉพาะ ทางสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มผู้ดำเนินธุรกิจและนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ ได้มีความพยายามพัฒนาวิชาชีพของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นที่ยอมรับมาก ขึ้น โดยมีการจัดหลักสูตรต่างๆ สำหรับพัฒนาความรู้นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์และได้ มีความพยายามควบคุมเฉพาะนายหน้าเป็นสมาชิกของสมาคมอสังหาริมทรัพย์เพื่อมิให้สร้างความ เสียหายต่อภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค (หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, 2556) 2.2 แนวคิดในการควบคุมการประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิตของบุคคลในสังคมนั้น มีการแสวงหาประโยชน์หลากหลายทั้งประโยชน์ส่วนตัว และประโยชน์ส่วนรวม เมื่อพิจารณาในแง่ของประโยชน์ส่วนตัวแล้ว บุคคลทั้งหมดสามารถจะแสวงหา ผลประโยชน์ดังกล่าวได้ภายใต้กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่มิได้เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น แต่หาก พิจารณาในแง่ของประโยชน์ส่วนรวมแล้วจะต้องมีการกระทบถึงบุคคลเป็นจำนวนมาก จึงต้องมี ขอบเขตหรือกฎเกณฑ์บางประการที่เข้ามาจำกัด ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องเข้ามาคุ้มครองหรือรักษา ผลประโยชน์ของส่วนรวมไว้ และในการประกอบวิชาชีพก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพใดก็ตาม เช่น แพทย์ พยาบาล สถาปนิก วิศวกร ผู้ตรวจสอบบัญชีและทนายความ เหล่านี้ย่อมมีความเกี่ยวพัน กับบุคคลในสังคม ซึ่งมีแนวคิดในการควบคุมการประกอบวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ (วัชรียา โตสงวน & พนม เอี่ยมประยูร, 2533) 2.2.1 การปกป้องคุ้มครองสาธารณประโยชน์ (Public welfare argument) ตามแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีนี้เชื่อว่า รัฐมีความจำเป็นที่ต้องเข้ามาแทรกแซงควบคุม อาชีพบางประเภทให้มีการแข่งขันภายในขอบเขตและเงื่อนไขบางประการด้วยเหตุผลที่ว่า รัฐต้องการ จะปกป้องคุ้มครองสังคมโดยส่วนรวมให้รอดพ้นจากผลเสียทั้งด้านการไร้ประสิทธิภาพ ( Inefficient) และการขาดความเสมอภาค (Inequitable) อันอาจจะเกิดขึ้นจากการแข่งขันที่ไร้ขอบเขตแห่งวิชาชีพ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3