2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
18 ดังเช่น อาชีพการแพทย์ หากแพทย์ผู้รักษาไม่มีความสามารถเพียงพอ วินิจฉัยโรคไม่ถูกต้อง การรักษา คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง อาจทำให้เกิดโรคระบาดแพร่หลายขึ้น ซึ่งอาจนำความเสียหายไปสู่ ส่วนรวมได้ ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นเหตุให้รัฐมีเหตุผล (Justification) เพียงพอที่จะเข้าแทรกแซงควบคุม อาชีพที่อาจส่งผลกระทบในวงกว้างแก่สังคมได้ 2.2.2 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest group) จากแนวความคิดที่ว่ารัฐมีเหตุผลและความจำเป็นที่จะเข้าแทรกแซงการควบคุมอาชีพใน นามแห่งประโยชน์ส่วนรวมนั้น สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ไม่ปฏิเสธประโยชน์ส่วนรวมของหมู่ คณะ แต่ยืนยันว่าแนวความคิดเช่นนี้เป็นเหตุผลของการยอมรับสภาพของการปกครองแบบพ่อ ปกครองลูก (Paternalism) ผู้ที่สนับสนุนความคิดเห็นนี้เชื่อว่าแท้จริงแล้วการรวมกลุ่มของบุคคลใน อาชีพเดียวกันที่มีการเรียกร้องหรือโน้มน้าว ชักจูง ให้รัฐตรากฎหมายรองรับเอกสิทธิพิเศษในการ ปกครองตนเองก็ดี มีกฎระเบียบเงื่อนไขเฉพาะผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพดังกล่าวก็ดี จะต้องปฏิบัติสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้เป็นไปเพื่อพิทักษ์รักษา ส่งเสริมผลประโยชน์ของกลุ่มสมาชิกเบื้องต้นและอาจจะมี บางส่วนที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ พฤติกรรมเช่นนี้นำไปสู่การผูกขาดแห่งอาชีพ (Occupational Cartel) ดังนั้น จึงมีข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างผู้ประกอบการต่างๆ ซึ่งผลิตสินค้าหรือ ให้บริการในอาชีพอย่างเดียวกัน วัตถุประสงค์ของผู้ประกอบการ คือ การล้มเลิกการแข่งขันระหว่าง กันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และการก่อให้มีการผูกขาดตัดตอน (Monopoly) เพื่อดำรงไว้ซึ่ง ผลประโยชน์ของสมาชิกที่มารวมตัวกัน โดยมีการตรากฎหมายออกมารองรับ แต่จะมีความแตกต่าง จากการรวมกลุ่มเป็นสมาชิกของสมาคมทั่วๆไป เพราะผู้ที่มีความต้องการจะประกอบอาชีพดังกล่าว ต้องเป็นสมาชิกขององค์กรเท่านั้นและกฎหมายก็ได้มอบสิทธิผูกขาดแห่งวิชาชีพให้สมาชิกดังกล่าว แต่ อย่างไรก็ตามสิทธินั้นย่อมไม่เสียอิสรภาพทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพแต่ละคนยังคงเป็น หน่วยงานอิสระทั้งในด้านเศรษฐกิจและในทางกฎหมาย เพียงแต่สงวนอาชีพนี้ไว้บางประการตามข้อ สัญญา เมื่อพิจารณาถึงสิทธิของผู้ผูกขาดตัดตอน อาจแบ่งการผูกขาดเป็นการผูกขาดที่เด็ดขาด และไม่เด็ดขาด การผูกขาดที่เด็ดขาดนั้นหมายความว่าผู้ผูกขาดมีอำนาจที่จะกระทำได้แต่เพียงผู้เดียว เช่น การที่รัฐตรากฎหมายให้สภาทนายความมีอำนาจหน้าที่จดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็น ทนายความได้เพียงองค์กรเดียวในประเทศ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ 2528 มาตรา 8 (1) ส่วนการผูกขาดที่ไม่เด็ดขาดนั้นมีการแข่งขันเกิดขึ้นมากในหมู่สมาชิกขององค์กรที่ได้รับสิทธิดังกล่าว ในอาชีพโดยกฎหมาย เช่น การรักษาคนไข้ เฉพาะแพทย์เท่านั้นที่รักษาได้ จะเห็นได้ว่ามีแพทย์อยู่เป็น จำนวนมากที่ต้องแข่งขันให้บริการประชาชนในอาชีพนี้ ซึ่งแนวความคิดนี้ได้รับการยอมรับค่อนข้าง แพร่หลายในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ เพราะสามารถทดสอบได้ด้วยเหตุผลทางทฤษฎีและข้อมูลทางสถิติ และนำไปสู่ข้อสรุปว่าการก่อตั้งขึ้นเป็นองค์กรวิชาชีพนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3