2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

19 ในขณะเดียวกันกฎหมายก็ยินยอมให้มีการผูกขาดและให้สิทธิพิเศษหลายประการที่เอื้ออำนวยต่อการ ปกป้องผลประโยชน์ดังกล่าว ดังนั้น องค์กรวิชาชีพจึงยอมรับพันธะและหน้าที่อันเกิดจากการควบคุม การประกอบวิชาชีพให้ดำเนินไปเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนโดยแท้จริงเป็นการตอบแทน 2.2.3 ความไร้สมมาตรของข้อมูล (Asymmetric Information) แนวความคิดนี้เชื่อว่ารัฐมีความจำเป็นต้องแทรกแซงในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ประชาชน ที่ใช้บริการจากงานวิชาชีพบางประเภทที่มีลักษณะของงานค่อนข้างสลับซับซ้อนยากแก่การเข้าใจ หรือยากแก่การประเมินผลของการบริการที่ประชาชนได้รับจากการประกอบอาชีพนั้นๆ ดังนั้น การที่ รัฐได้มอบอำนาจให้แก่องค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ทรงสิทธิ์ในการออกใบอนุญาตในการประกอบอาชีพ ให้แก่กลุ่มบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขนั้น เท่ากับว่ารัฐได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่สังคมว่า ผู้ใช้บริการจะได้รับประกันคุณภาพมาตรฐานแห่งวิชาชีพที่มีความสามารถได้ส่วนหนึ่งอีกด้วย โดยทั่วไปในตลาดนั้นจะมีการรับประกันคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ผู้ใช้บริการมีความเชื่อมั่น และไว้ใจนการตัดสินใจของตนเอง ซึ่งมักจะมีลักษณะพิเศษที่เด่นเห็นได้ชัดจากผู้ซื้อสินค้าหรือ ผู้ใช้บริการจะไม่ทราบถึงคุณภาพที่แท้จริงของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ในขณะที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ จะทราบขีดความสามารถของตนหรือสมรรถนะและคุณภาพของสินค้านั้นได้ จะเห็นได้ว่าลักษณะของ การรับทราบข้อมูลทั้งสองฝ่ายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายนั้นไม่เท่าเทียมกัน เช่น ผู้ป่วยทั่วไปจะไม่มี ความรู้หรือพิสูจน์ได้ว่าคำวินิจฉัยของแพทย์และการให้คำแนะนำรักษานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ค่าบริการที่ เรียกเก็บนั้นคุ้มค่าหรือไม่ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาของแนวคิดนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ทางเลือกอื่นจึงเป็นการออกใบอนุญาตให้มีสิทธิในการประกอบวิชาชีพ ( Licensing) หรือ ประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน (Certification) ทางวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ถึงการรับรองคุณภาพทั้งด้านความรู้ในทางทฤษฎีและการฝึกฝนในภาคปฏิบัติจากกลุ่มสมาคมวิชาชีพ นั้นๆ 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการอนุญาต ระบบอนุญาตเป็นมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด เพราะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอ อนุญาตและรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการที่จะขออนุญาตเสียก่อนว่าจะมีผลกระทบหรือ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะเพียงใด โดยในแง่นี้ย่อมเป็นผลดีต่อการคุ้มครอง ประโยชน์สาธารณะ แต่ในอีกแง่หนึ่ง ระบบอนุญาตเป็นกลไกที่กระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของ บุคคลค่อนข้างมาก และในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ในการพิจารณาอนุญาต ก็มี ความเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่จะใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบหรือเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งในยุคที่มีแนวคิดว่า รัฐควรแทรกแซงกิจการทางเศรษฐกิจและสังคมให้น้อยลง จึงมีแนวคิดในทางกฎหมายว่า ผู้ตรา กฎหมายควรใช้ระบบอนุญาตเพียง “เท่าที่จำเป็น”

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3