2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

20 ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการประกอบ กิจการหรือเพื่อการประกอบอาชีพที่ใช้ระบบใบอนุญาตจำนวน 149 ฉบับ (ศ.ดร.วิษณ เครืองาม, 2561) โดยยังไม่รวมมาตรการควบคุมการประกอบกิจการในลักษณะอื่นๆ เช่น การจดทะเบียนหรือ ขึ้นทะเบียน การรับรอง หรือการจดแจ้ง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และ กระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตเป็นจำนวนมากโดยการนำระบบใบอนุญาตซึ่งเป็นมาตรการ ควบคุมก่อนหน้ามาใช้มีผลให้รัฐต้องตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลตลอดจนการ ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกันก่อนจะพิจารณาให้สิทธิตามกฎหมายแก่บุคคล โดยการดำเนินการของรัฐ ดังกล่าวตามกฎหมายจึงก่อให้เกิดข้อโต้แย้งว่าล้าสมัย หมดความจำเป็น ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ในปัจจุบันเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ การดำเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันกับ ต่างประเทศ 2.3.1 ระบบอนุญาตตามกฎหมายสหภาพยุโรป ข้อกำหนดของสหภาพยุโรปว่าด้วย “บริการตลาดภายใน” (Directive 2006/123/CE du Parlement européen eu du Conseil du 12 décembre 2006 relative aux services du marché intérieur) หรือที่เรียกกันว่า “ข้อกำหนดบริการ” หรือ “ข้อกำหนด Bolkestein” ซึ่งใช้ บังคับแก่การประกอบกิจการที่เป็นบริการอันเป็นไปตามภารกิจหลักของสหภาพยุโรปในการสร้าง ตลาดภายในให้ผู้ประกอบการค้าบริการจากรัฐภาคีสามารถประกอบกิจการในเขตตลาดภายในได้ อย่างเสรี และได้กำหนดหลักสำคัญเกี่ยวกับการใช้ระบบอนุญาต (régimes d’autorisation) ไว้ใน มาตรา 9 ให้รัฐภาคีสามารถนําระบบอนุญาตมาใช้กับการประกอบกิจการบริการได้ก็ต่อเมื่อเข้า เงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1) การใช้ระบบอนุญาตไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ 2) มีความจำเป็นต้องใช้ระบบอนุญาตเนื่องด้วย “เหตุผลสำคัญยิ่งเกี่ยวกับประโยชน์ของ ส่วนรวม” (raison impérieuse d’intérêt général) 3) ไม่มีมาตรการอื่นที่มีผลกระทบน้อยกว่าอันจะทำให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ นอกจากนี้ มาตรา 10 ได้วางกรอบการใช้อำนาจในการพิจารณาอนุญาตของเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้อำนาจตามอำเภอใจและมาตรา 11 ได้กำหนดหลักเกี่ยวกับกระบวนการ พิจารณาอนุญาตที่จะต้องมีความชัดเจน โปร่งใส และไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ขออนุญาตจนเกิน สมควร 2.3.2 การควบคุมสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามกฎหมายเยอรมัน กฎหมายเยอรมันกำหนดกลไกที่ใช้ในการควบคุมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยแบ่ง ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3