2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
23 ฝ่ายไม่พอใจระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แนวคิดทางปรัชญาการปกครองแบบ ปัจเจกชนนิยม จึงปรากฏชัดขึ้นซึ่งเน้นความเป็นอิสระของบุคคลและให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิมีเสียง ในการปกครอง ต่อมาในระหว่างศตวรรษที่ 19-20 หลักกฎหมายในสังคมพัฒนาแล้วยอมรับให้บุคคล มีเสรีภาพในการทำสัญญา (freedom of contract) อันเป็นไปตามหลักปัจเจกนิยมที่เห็นว่า ทุกคนมี อิสระที่จะกระทำการใดเพื่อตนเองและทุกคนมีความเสมอภาคกันในฐานะและความรู้ ดังนั้น เมื่อ บุคคลมีเสรีภาพในการทำสัญญา หากทำสัญญากันเช่นใดก็จะต้องมีการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาที่ ทำกันเสมอ ทุกคนมีหน้าที่จะต้องปกป้องประโยชน์ของตนเอง ในกฎหมายซื้อขายจึงมีหลักว่า “ผู้ซื้อ ต้องระวัง” (let the buyer beware) กล่าวคือ ถ้าผู้ซื้อไม่ระมัดระวังตรวจดูสินค้าตามควรขณะรับ มอบสินค้า หากปรากฏภายหลังว่ามีข้อบกพร่องใด ผู้ซื้อก็ต้องรับความเสียหายไปโดยเรียกร้องเอาจาก ผู้ขายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 473 ซึ่งเท่ากับกฎหมายเห็นว่าผู้บริโภคและ ผู้ประกอบธุรกิจมีฐานะและความรู้ความสามารถเท่ากัน (David W. Oughton, 1991) ต่อมาในสังคมอุตสาหกรรมหลายคนต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้ตนดำรงชีพในสังคมได้ เวลาการทำงานหลายอย่างเพื่อตนเองจึงมีน้อยมากหรือแทบไม่มี ดังนั้น ผู้บริโภคเริ่มต้องการงาน บริการเพิ่มตามลำดับ ในสังคมอุตสาหกรรมบริการกลายเป็นส่วนสร้างรายได้หลักของสังคม งานบริการหลายอย่างต้องอาศัยความรู้เฉพาะ เช่น การสร้างตึกอาคาร การ ให้คำปรึกษาและ ดำเนินคดี เป็นต้น ซึ่งงานบริการหลายประเภทที่ต้องมีมาตรการทางกฎหมายเข้ามาเพื่อให้ผู้บริโภค ได้รับความคุ้มครอง เช่น พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศกรรม พ.ศ 2505 พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ 2528 พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ 2535 เป็นต้น 2.4.2 แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคซึ่งมีพัฒนามาจากเรื่องสิทธิมนุษยชน (Human Right) สิทธิของผู้บริโภคได้ปรากฎใน “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ” (Universal Declaration of Human Rights of the United Nations) ใน ปี ค .ศ 1 9 4 8 มี ก า รป ระ ก า ศ เจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิ มนุษยชน และเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่ง สหประชาชาติให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) มาตรฐานสากลของสหประชาชาติที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีการกำหนดถึง สิทธิในการได้รับความคุ้มครองผู้บริโภค ปฏิญญาสากลดังข้อที่กล่าวมามุ่งคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของ ผู้บริโภค แนวความคิดในการคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศเกิดขึ้นอย่างชัดเจนครั้งแรกที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1960 โดยรัฐประกาศให้การรับรองสิทธิของผู้บริโภคที่สำคัญ 4 ประการ คือ (ภัทรธนาฒย์ ศรีถาพร, 2557)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3