2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

24 1) สิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างเพียงพอก่อนที่จะซื้อ (Right to be informed) 2) สิทธิที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการโดยอิสระ (Right to Choose) 3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากสินค้า (Right to Safety) และ 4) สิทธิที่จะเรียกร้องค่าทดแทนจากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายสินค้าที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่มี ความปลอดภัย (Right to Compensation/redress) โดยประเทศไทยได้คำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภคเป็นครั้งแรกโดยการใช้มาตรการทาง กฎหมายเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการบริโภคหางน้ำนม ซึ่งออกกฎหมายฉบับหนึ่งชื่อว่า พระราชบัญญัติหางน้ำนม พ.ศ 2470 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สุษม ศุภนิตย์, 2530) ต่อมาประเทศมีการพัฒนามากขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยเริ่ม เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมืองมากขึ้น แม้ว่าประเทศไทยจะเริ่มใช้ประมวลกฎหมาย อาญาหรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดต่อสังคมหรือ เพื่อเยียวยาชดใช้ความเสียหายต่อผู้ที่ถูกละเมิดมาเป็นเวลาพอสมควรก็ตาม แต่รัฐในฐานะผู้ปกครอง ให้เกิดความสงบสุข ก็จำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายเฉพาะที่กำหนดให้รัฐควบคุมกำกับกิจกรรมต่างๆ ของเอกชนให้เกิดความปลอดภัยและเป็นธรรมต่อส่วนรวม กฎหมายเฉพาะเหล่านี้ล้วนมีลักษณะเป็น กฎหมายมหาชนที่มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยของสาธารณชนและป้องกันความ เสียหายอันเนื่องจากการบริโภคของประชาชนทั่วไปด้วย เช่น พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ 2484 พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ .ศ 2484 (พระราชบัญญัติหางน้ำนม พ .ศ 2470 เดิม ) พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร พ.ศ 2507 เป็นต้น กฎหมายเหล่านี้มีลักษณะกำหนดอำนาจ หน้าที่ของรัฐให้สามารถควบคุมกำกับผู้ประกอบธุรกิจในกิจการที่เกี่ยวข้องกับเครื่องอุปโภคบริโภค ของประชาชนให้ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เป็นต้นว่าให้จดทะเบียนสูตร ให้ทดสอบความ ปลอดภัยและมีโทษอาญาเป็นบทบังคับ เมื่อสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานประการหนึ่งของ ประชาชนชาวไทยที่ได้รับการรับรองไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่างๆ ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อันเป็นที่มาของการตราและประกาศใช้บังคับกฎหมาย ฉบับต่างๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค 2.4.3 หลักการสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อสภาพทางสังคม เศรษฐกิจและระบบอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดปัญหา ความไม่ยุติธรรมในการทำสัญญาขึ้น ดังนั้น รัฐและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในฝ่ายรัฐทั้งหลายจึงเห็นความ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3