2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
25 จำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายมาเพื่อคุ้มครองคู่สัญญาฝ่ายที่อ่อนแอกว่าไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของความไม่ ยุติธรรมนี้จนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำกัดเสรีภาพในการทำสัญญา จึงได้มีการประกาศใช้ กฎหมายซึ่งแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้ คือ 1) คุ้มครองก่อนการทำสัญญา ปัจจุบันคู่สัญญาฝ่ายที่อ่อนแอกว่าทั้งในทางเศรษฐกิจ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการทำสัญญาจะได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ 2522 ในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา โดยมีกฎหมายกำหนดให้ธุรกิจบาง ประเภทจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมในเรื่องของสัญญาเพื่อคุ้มครองคู่สัญญาฝ่ายที่อ่อนแอกว่าให้ ได้รับความเป็นธรรมจากสัญญาดังกล่าว 2) คุ้มครองในขณะทำสัญญาหรือเมื่อมีการทำสัญญาแล้ว ปัจจุบันได้รับความคุ้มครองจาก พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ 2540 อันมีลักษณะของการคุ้มครองคู่สัญญาฝ่าย ที่อ่อนแอกว่าให้ไม่ต้องรับผลที่ไม่เป็นธรรมเกิดจากสัญญาเมื่อสัญญาได้ขึ้นแล้วเป็นสำคัญด้วยการให้ ศาลใช้ดุลพินิจปรับลดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมได้ หลักการหรือพื้นฐานสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเป็นที่มาของ การออก พระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบไปด้วยหลักเสรีภาพในการทำสัญญา หลักความยุติธรรม หลักความ เท่าเทียมกันของคู่สัญญาและหลักความแน่นอนของกฎหมาย โดยพิจารณาจากหลักที่เป็นสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1) หลักเสรีภาพในการทำสัญญา (Principle of Freedom of Contract) เสรีภาพใน การทำสัญญามีอยู่ 2 ความหมาย แรกคือ เสรีภาพที่จะเข้ามาตกลงทำสัญญา ส่วนความหมายที่สอง หมายถึงเสรีภาพที่จะไม่ถูกแทรกแซงเมื่อสัญญาเกิดแล้ว สำหรับเสรีภาพที่จะเข้ามาตกลงทำสัญญานั้น หมายถึง เสรีภาพในการเริ่มต้นดำเนินต่อไป หรือระงับ กระบวนการในการก่อให้เกิดสัญญา ซึ่งใน ความหมายนี้อาจพิจารณาได้ 2 ด้าน คือ ด้านการกระทำ (Positive sense) อันหมายถึงการเริ่มต้น ดำเนินต่อไปและการตกลงเข้าทำสัญญา และด้านไม่กระทำ (Negative sense) อันหมายถึงการไม่เข้า ทำสัญญาหรือการระงับกระบวนการในการเจรจาด้วยการถอนคําเสนอหรือการยกเลิกการเจรจา เป็นต้น สำหรับการไม่เข้าทำสัญญาของผู้รับคําเสนอก็ดี หรือการยกเลิกหรือระงับการเจรจาของ คู่สัญญาก็ดี มักไม่มีปัญหาเพราะเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการใช้เสรีภาพดังกล่าว แต่ในส่วนที่ผู้เสนอ เปลี่ยนใจไม่เข้าทำสัญญาด้วยการถอนคําเสนอนั้นอาจมีปัญหาในระบบกฎหมายของบางประเทศก็ได้ ว่าผู้ทำคำเสนออาจไม่มีเสรีภาพที่จะทำเช่นนั้นได้ (จำปี โสตถิพันธุ, 2544) ส่วนเสรีภาพที่จะไม่ถูก แทรกแซงภายหลังจากที่สัญญาเกิดนั้น น่าจะหมายความเสรีภาพที่จะไม่ถูกแทรกแซงจากรัฐตาม ทฤษฎีปัจเจกชนนิยม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะรัฐได้รับรองเสรีภาพที่ปัจเจกชนมีตั้งแต่ขั้นตอนก่อนเกิด สัญญาแล้ว ดังนั้นเมื่อสัญญาเกิดแล้วรัฐจะเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้สิ่งที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้ในหลัก เสรีภาพเปลี่ยนแปลงไปเป็นประการอื่นไม่ได้เสรีภาพของปัจเจกชนก็ถูกทำลายไป นอกจากนี้ เสรีภาพ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3