2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

26 ในการทำสัญญา ถือเป็นเพียงนโยบายทางกฎหมาย (Legal Policy) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสรีภาพของ บุคคลที่จะเป็นหลักที่ให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่คู่สัญญาในอันที่จะกำหนดชนิดแบบและเนื้อหาของ กิจการซึ่งเขาประสงค์จะตกลงกันและจํากัดขอบเขตของรัฐในการเข้าแรกแซง การเข้าทำสัญญาของ คู่กรณีให้อยู่ในวงจํากัดที่สุด หลักเรื่องเสรีภาพในการทำสัญญา เป็นหลักเกณฑ์ซึ่งนานาประเทศยอมรับ และบัญญัติไว้ ในกฎมายที่เกี่ยวกับสัญญา กล่าวคือสำหรับบุคคลที่มีอายุและความเข้าใจตามควรจะมีเสรีภาพเต็มที่ ในการทำสัญญา และเมื่อได้กระทำลงโดยอิสระและด้วยความสมัครใจ หากข้อตกลงนั้น ไม่ขัดกับหลัก เรื่องความสงบเรียบร้อยของประชาชน (Public Policy) สัญญานั้นย่อมมีผลใช้บังคับได้ ทฤษฎีที่ว่า ด้วยเสรีภาพในการทำสัญญา จึงถือว่าเป็นตัวที่ก่อให้เกิดหนี้ในเรื่องเกี่ยวกับสัญญาก็คือ ความสมัครใจ หรือ “เจตนา” (la volonte) หนี้ในเรื่องสัญญาจึงเกิดขึ้นโดยอำนาจของการกระทำโดยสมัครใจของ บุคคล นั้นมิใช่เกิดโดยอำนาจภายนอกอื่นใด (อำนาจกฎหมาย) สัญญามิได้มีสภาพบังคับโดยอำนาจ แห่งกฎหมาย แต่เกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งความสมัครใจที่คู่สัญญายินยอมผูกพันกัน กฎหมายเป็นแต่ เพียงผู้กำหนดบทลงโทษในเมื่อมีการไม่ปฏิบัติตามหนี้นั้นเท่านั้น (ดาราพร ถิระวัฒน์, 2542) ดังนั้น หลักเสรีภาพในการทำสัญญายึดถือหลักการหนี้ที่ยุติธรรม เพราะว่าคู่สัญญามี เสรีภาพอิสระที่จะทำสัญญาหรือไม่ก็ได้หากเห็นว่าไม่ได้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่หาก พิจารณาแล้วเห็นว่าถูกเอารัดเอาเปรียบจากอีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่จำต้องยอมรับหนี้นั้นโดยไม่เข้าทำสัญญา ด้วยและเมื่อใดคู่สัญญาได้ตกลงทำสัญญากันแล้ว จะมาอ้างภายหลังว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรม ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีใครบังคับในขณะที่ทำสัญญา สัญญาคือนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งผู้กระทำจะต้อง กระทำด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ หรือเรียกได้ว่าสัญญาทำให้เกิดหนี้จะเห็นว่าจะเกิดสัญญาได้ต้องมีความ สมัครใจของคู่สัญญาที่ต้องการจะผูกพันด้วยกัน ซึ่งก็เป็นหลักในเรื่องของความอิสระในการแสดง เจตนานั้นเอง 2) หลักสัญญาต้องเป็นไปตามสัญญา เป็นการจำกัดเสรีภาพในเรื่องผลของสัญญาโดย สัญญาต้องเป็นไปตามเสรีภาพที่ได้ใช้ แม้จะยึดหลักว่าเมื่อคู่สัญญาได้ตกลงทำสัญญากันขึ้นโดย เสรีภาพแล้ว แต่สัญญาดังกล่าวก็ย่อมผูกพันคู่กรณีและศาลจะยอมรับบังคับตามสัญญาดังกล่าวโดยไม่ เข้าแทรกแซง เว้นแต่จะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น 3) หลักความยุติธรรม ซึ่งการมีเสรีภาพในการทำสัญญาถือหลักการที่ก่อให้เกิดความ ยุติธรรมเป็นหลักยืนยันว่าการปฏิบัติการชำระหนี้จะต้องมีการปฏิบัติต่อกันด้วยความเสมอภาคและ ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคู่สัญญาตกลงยินยอมสมัครใจเข้าทำการผูกพันกัน ซึ่งหมายความว่าการมีความ เสมอภาคนั้นเป็นการยอมให้มีการต่อรองกันได้ ภายใต้เงื่อนไขนี้จะทำให้อีกฝ่ายที่เห็นว่าไม่ได้รับความ เท่าเทียมกันสามารถที่จะไม่ตกลงเข้าทำสัญญาด้วยและหาทางอื่นที่ดีกว่าได้ โดยจุดนี้เป็นความเชื่อถึง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3