2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

27 หลักความเสมอภาคโดยธรรมชาติระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นความคิดในสมัยดั้งเดิมด้วยเหตุผลของ ความคิดที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน มนุษย์ทุกคนมีความเป็นอิสระในตัวเองไม่ว่า บุคคลนั้นจะเป็นคู่สัญญาหรือในกรณีอื่น 4) หลักความเท่าเทียมกันของคู่สัญญา ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพประการหนึ่งของบุคคล ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งบุคคลทุกคนมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมายในการทำสัญญา แต่ใน ความเป็นจริงนั้นผู้ประกอบอาชีพซึ่งมีโอกาส 5) หลักความแน่นอนของกฎหมาย เป็นหลักที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับความศักดิ์สิทธิ์ ของการแสดงเจตนา ดังนั้น กฎหมายจะต้องไม่แทรกแซงเสรีภาพในการทำสัญญาซึ่งเป็นพื้นฐานของ ความคิดเรื่องหลักความแน่นอนของกฎหมาย โดยหลักดังกล่าวนี้อยู่ที่ว่ากฎหมายบังคับใช้กับ ประชาชนนั้นเป็นกฎหมายที่ประชาชนรับรู้ว่ามีอยู่และได้รับรู้ด้วยว่าผลของการไม่ทำตามกฎหมายคือ อะไร ทั้งนี้เพื่อความยุติธรรม 2.5 หลักความศักดิ์สิทธิแห่งการแสดงเจตนา หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา (Autonomy of Will) มาจากรากฐานความคิดทาง ปรัชญาว่าด้วยเรื่องปัจเจกชนนิยม (Individualism) เจตนาที่มีความศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นหลักการพื้นฐาน ของเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเจตนามีความเป็นอิสระที่จะก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ตามที่แสดงออกตามเจตนาที่ตนต้องการเท่านั้น ดังนั้น บุคคลทุกคนจึงมีอิสระที่จะผูกพันตนเองต่อ ผู้อื่นตามที่ตนต้องการโดยเจตนาดังกล่าวของบุคคลจึงเป็นแหล่งกำเนิดและมาตรการทางสิทธิที่ ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ทางหนี้ที่จะเข้าผูกมัดตนเองต่อผู้อื่น บุคคลจะไม่ถูกผูกพันในหนี้ที่ไม่ได้ตกลง ยินยอมด้วยบุคคล จึงสามารถที่จะถูกบังคับด้วยตัวของตนเองโดยเฉพาะการผูกมัดตัวเองด้วยนิติ สัมพันธ์ที่ทำขึ้นด้วยสัญญาระหว่างกัน เนื่องจากเจตนาเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่โดย คู่สัญญา หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาวางอยู่บนแนวคิดว่า บุคคลมีอำนาจต่อรองที่เท่าเทียม กันตามกฎหมายสามารถเข้าใจความได้เปรียบหรือเสียเปรียบของตนเองในการเข้าทำสัญญา กฎหมาย จึงถือว่าคู่สัญญามีฐานะในการรับรู้และต่อรองเท่าเทียมกัน คู่สัญญาจึงมีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไข หรือข้อความในสัญญาร่วมกันข้อตกลงดังกล่าวระหว่างคู่สัญญาเกิดจากการตกลงใจร่วมผูกพันใน สัญญา โดยคู่สัญญาไม่ได้ถูกบังคับให้ตกลงใจและคู่สัญญาย่อมตกลงใจผูกพันในสัญญาดังกล่าวด้วย ความเข้าใจในข้อความตามสัญญาอย่างชัดแจ้ง จึงตกลงใจเข้าผูกพันในสัญญาระหว่างกัน การตกลง เข้าทำสัญญาตามหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนานี้ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ยุติธรรมระหว่าง คู่สัญญาแล้ว ดังนั้น สัญญาดังกล่าวทำขึ้นโดยสมบูรณ์ก่อให้เกิดหนี้หรือนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3