2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

28 แล้วย่อมมีผลบังคับระหว่างคู่สัญญาตามกฎหมาย คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจำต้องผูกพันและปฏิบัติตาม ข้อกำหนดในสัญญานั้นตามหลัก “สัญญาต้องเป็นสัญญา” (ไชยศ เหมะรัชตะ, 2527) การเข้าผูกพันระหว่างบุคคลในฐานะคู่สัญญาให้ความสำคัญกับการแสดงเจตนาเข้าผูกพันที่วาง อยู่บนพื้นฐานของการยอมรับและเคารพต่อเสรีภาพของบุคคลว่าเป็นสิทธิที่มีมาตามธรรมชาติติดตัว มาแต่เกิดไม่สนับสนุนให้มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเอกชนในการทำสัญญาระหว่างเอกชนด้วยกัน แต่ในแนวทางของรัฐคงไม่อาจปล่อยให้เอกชนสามารถกระทำการใดๆ โดยไม่มีขอบเขตได้ ดังนั้น ตาม หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนาจึงมองว่าการที่คู่สัญญามีอำนาจเต็มที่ในการทำสัญญาใดๆนั้น กระทำ ได้ภายใต้บทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีซึ่งเป็นกรณี ที่รัฐไม่อนุญาตให้เอกชนทำได้ หากกระทบต่อหลักดังกล่าวบทบาทของรัฐต่อหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่ง การแสดงเจตนานั้นจะวางอยู่บนแนวคิดที่รัฐจะต้องไม่ตรากฎหมายไปบีบบังคับต่อการทำสัญญาของ เอกชนและเอกชนสามารถวางกฎเกณฑ์ที่จะใช้บังคับแก่สัญญาของตนได้โดยที่กฎหมายจะเข้าไป เกี่ยวข้องเฉพาะในกรณีที่เห็นสมควรเท่านั้น หรือสัญญาดังกล่าวกระทบต่อหลักความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชนเท่านั้น จะเห็นว่าเจตนาของเอกชนมีค่าเหนือกว่าสังคมหรือกล่าวอีก นัยหนึ่งคือการแสดงเจตนาของเอกชนเป็นตัวก่อให้เกิดหนี้ขึ้น หนี้มิได้เกิดจากอำนาจภายนอกอื่นใดซึ่ง เป็นอำนาจทางสังคมหรืออาจกล่าวได้ว่า “บุคคลต้องมีอิสระในการทำสัญญาตามที่เขาต้องการโดย ปราศจากการแทรกแซง” (สุธาบดี สัตตบุศย์, 2552) หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาเป็นหลักที่ให้ความสำคัญแก่เจตนาในฐานะที่เป็นตัว ก่อให้เกิดสัญญากำหนดเนื้อหาในสัญญาและเป็นกฎเกณฑ์ที่ก่อให้เกิดสภาพบังคับระหว่างคู่สัญญาให้ ต้องปฏิบัติตามสัญญาตลอดจนเรื่องปัญหาการตีความสัญญา 1) เจตนาเป็นตัวก่อให้เกิดสัญญา โดยเจตนาเป็นกลไกสำคัญในขั้นตอนการเจรจาทำสัญญา สัญญาเกิดขึ้นตามหลักเสนอสนองต้องตรงกัน การตกลงยินยอมที่จะให้เกิดผลผูกพันตามสัญญาต้องมี การแสดงเจตนาออกมาให้ปรากฏภายนอกว่ามีความต้องการอย่างไรไม่ว่าด้วยวาจาหรือลายลักษณ์ อักษร เจตนาต้องประกอบด้วยความยินยอมสมัครใจที่บุคคลแสดงออกมา ซึ่งจะต้องไม่มีความ ผิดพลาดหรือบกพร่องของเจตนา 2) เจตนาเป็นตัวกำหนดเนื้อหาของสัญญา คู่สัญญามีเสรีภาพที่จะตกลงทำสัญญาตามที่ตนสมัคร ใจผูกมัดโดยจะกำหนดรายละเอียดเพื่อผูกพันระหว่างกันให้เหมือนหรือแตกต่างไปจากประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยบัญญัติไว้ในบรรพ 3 เกี่ยวกับเอกเทศสัญญานั้นเป็นสัญญาที่ใช้กันสม่ำเสมอจนเป็นที่รู้จักกฎหมายจึงบัญญัติสิทธิและหน้าที่ ของคู่สัญญาตลอดจนผลของสัญญาไว้โดยเฉพาะ แต่ในความเป็นจริงคู่สัญญาอาจทำสัญญากำหนด เนื้อหาแตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่า “สัญญาไม่มีชื่อ” แต่ทั้งนี้ข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3