2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

29 ต้องมีลักษณะที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มิเช่นนั้นสัญญาที่ทำขึ้น จะตกเป็นโมฆะ 3) เจตนาเป็นตัวกำหนดผลของสัญญา เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้วมีผลผูกพันคู่สัญญาตามที่ตกลงกัน คู่สัญญาต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามข้อผูกพันดังกล่าว หากมีกรณีเป็นที่สงสัยให้ใช้การตีความสัญญา เพื่อให้เป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา นอกจากนั้นความผูกพันตามสัญญาที่ได้ตกลงกันนี้จะ ไม่ถูกกระทบหรือเปลี่ยนแปลงแม้จะมีการบัญญัติกฎหมายใหม่ออกมาใช้บังคับซึ่งมีหลักเกณฑ์จาก จำกัดหรือขัดแย้งกับสัญญาที่เกิดขึ้นก่อนก็ตาม สัญญานั้นยังมีผลผูกพันตามเจตนาของคู่สัญญาที่ได้ ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้น แต่อย่างไรก็ตามถ้ากฎหมายใหม่นั้นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักความสงบ เรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญานั้นต้องถูกบังคับตามกฎหมายใหม่ที่ออกมาภายหลัง ที่เกิดสัญญาขึ้นเว้นแต่กฎหมายจะบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าไม่ให้มีผลย้อนหลังบังคับแก่สัญญาที่เกิดขึ้น ก่อนจะมีกฎหมายนั้น หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนานั้น มีผลทางกฎหมายที่สำคัญ 2 ประการคือ 1) ให้เสรีภาพในการทำสัญญา (La Liberte Contractuelle) เป็นเรื่องของความยุติธรรม ดังนั้น กฎหมายจะต้องเปิดโอกาสให้คู่สัญญามีอิสระที่จะทำสัญญาได้อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ เนื้อหาของสัญญาคู่สัญญาย่อมมีเสรีภาพที่จะทำสัญญาที่ตนสมัครใจผูกพันโดยสามารถกำหนด ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขต่างๆลงในสัญญาได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม แม้ว่ากฎหมายจะก ำหนด หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาไว้บ้างโดยกำหนดสัญญาบางชนิดที่คู่กรณีอาจเลือกกระทำตามได้เช่น กู้ยืม จำนอง จำนำ แต่คู่สัญญาก็มีเสรีภาพที่จะเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระในสัญญานั้นได้หรือจะทำสัญญาใน รูปแบบใหม่ที่ไม่มีกำหนดในกฎหมายก็ยังสามารถทำได้ 2) การเคารพและปฏิบัติตามเจตนาทำสัญญา การทำสัญญาเกิดจากความยินยอมของ คู่สัญญา เป็นตัวก่อให้เกิดหนี้ระหว่างคู่สัญญา ดังนั้นเมื่อทำสัญญาขึ้นแล้วจะต้องปฏิบัติตามที่ตกลงไว้้ในสัญญา นั้นตัวอย่าง เช่น ประมวลแพ่งฝรั่งเศส มาตรา 1134 ได้บัญญัติว่า “ความตกลงที่ทำขึ้นโดยชอบด้วย กฎหมายย่อมมีผลเป็นกฎใช้บังคับแก่ผู้ที่ทำความตกลงนั้น” หมายความว่าสัญญาเมื่อทำขึ้นแล้วต้องมี การปฏิบัติตามจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขยกเลิกหยุดยั้งการปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ เว้นแต่คู่สัญญาตกลงกัน ให้ทำเช่นนั้นได้ศาลหรือกฎหมายไม่สามารถยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับสัญญานั้น 2.6 ความหมายและสัญญานายหน้า ในปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้า มีเพียงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะนายหน้าตั้งแต่มาตรา 845 ถึง มาตรา 849 เท่านั้น เมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวพบว่า ไม่ มีการกำหนดคำจำกัดความของนายหน้าเอาไว้ เพียงแต่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายหน้าทั่วๆไป เท่านั้น ดังนั้นจึงมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้คำนิยามของนายหน้าไว้ ดังเช่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3