2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
30 หลวงสุทธิมนต์นฤนาถ ได้ให้คำจำกัดความว่า นายหน้า ( Broker ) คือคนกลางเป็นสื่อช่วยชี้ช่องให้ บุคคลฝ่ายหนึ่งเข้าทำสัญญากับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งหรือจัดการให้บุคคลทั้งสองฝ่ายเข้าทำสัญญากันได้ (หลวงสุทธิมนต์นฤนาถ, 2511) และศาสตราจารย์พิเศษ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ได้ให้คำจำกัดความใน ทำนองเดียวกันว่า นายหน้า คือผู้ที่ช่วยจัดให้ได้ทำสัญญากัน ได้แก่คนกลางเป็นสื่อช่วยชี้ช่องให้บุคคล ฝ่ายหนึ่งได้เข้าทำสัญญากับอีกฝ่ายหนึ่งหรือจัดการให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้เข้าทำสัญญากัน การที่ นายหน้าทำไปนั้นไม่ได้เข้าทำสัญญาแทนบุคคลใด และไม่ใช่ทำกิจการแทนผู้อื่นในนามของตัวเองเช่น ตัวแทนค้าต่าง (ประสิทธิ โฆวิไลกูล, 2556) นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ได้ให้คำจำกัดความว่า สัญญานายหน้าเป็น สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายหน้า จากการที่ชี้ช่องให้ได้ เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำสัญญาเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันสำเร็จ (ไผทชิต เอกจริยกร, 2545) ในต่างประเทศนั้นได้ให้คำจำกัดความของนายหน้าที่แตกต่างไปจากกฎหมายไทยกล่าวคือ ใน ต่างประเทศนั้นถือว่านายหน้านั้นเป็นลักษณะของตัวแทนอย่างหนึ่งแต่อาจจะมีลักษณะที่ไม่มีสิทธิ และหน้าที่บางอย่างที่เท่าเทียมกับตัวแทนได้ เช่น เรื่องการทำสัญญาแทนตัวการ การรับชำระหนี้แทน ตัวการหรือการฟ้องร้องคดีแทนตัวการ เป็นต้น G.H.L. Fridman ได้ให้คำจำกัดความว่า นายหน้า คือ ตัวแทนซึ่งถูกจ้างมาเพื่อดำเนินการต่อรอง และทำสัญญาระหว่างบุคคลในทางการค้าและในทางการเดินเรือ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ นายหน้าเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้ทำการเจรจาต่อรองระหว่างคู่สัญญา โดยที่ตัวนายหน้าไม่มีสิทธิ ครอบครองในสินค้าหรือไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในการขายหรือซื้อสินค้าและไม่มีอำนาจในการ ตัดสินใจว่าจะมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือบุคคลอื่นใดหรือไม่ (G.H.L. Fridman, 1983) Ernest J. Schuster ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า Brokerage Agreement สรุปความได้ว่า ความตกลงของสัญญานายหน้า คือ ความตกลงที่ผู้ว่าจ้างสัญญาที่จะจ่ายค่าบำเหน็จให้แก่ผู้ที่ทำ สัญญากับตน ซึ่งการกระทำการเป็นสื่อกลางในการบอกกล่าวโดยข้อมูลของข้อตกลงนั้นให้แก่คู่สัญญา ฝ่ายที่สามทราบ หรือเพื่อชี้ช่องเพื่อให้มีการเข้าสัญญานั้น เรียกว่า นายหน้า การสัญญาว่าจะให้ค่า บำเหน็จนี้อาจเป็นการให้สัญญาโดยปริยายก็ได้ ถ้าไม่สามารถร้องขอในการให้บริการได้ ซึ่งอาจจะอยู่ ภายใต้เหตุการณ์บางอย่าง แต่โดยเหตุผลแล้วสามารถคาดหมายได้ว่าเป็นการกระทำการ เพราะถูก ปฏิบัติโดยปราศจากค่าตอบแทน เช่น ในกรณีที่มีการร้องขอต่อนายหน้าทางอาชีพ (Ernest J. Schuster, 1907) ดังนั้น นายหน้าจึงเปรียบเสมือนคนกลางที่ทำหน้าที่ชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้เข้าทำ สัญญากัน โดยที่นายหน้านั้นไม่มีส่วนเข้าเป็นคู่สัญญาหรือเข้าทำสัญญาในนามของตนเองหรือของผู้ใด เลย และนายหน้าจะได้รับค่าบำเหน็จตามข้อตกลงก็ต่อเมื่อได้ชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้ซื้อและผู้ขาย ดังกล่าวได้เข้าทำสัญญากันสำเร็จแล้ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3