2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

33 จะมีความมั่นใจจากสัญญาว่าตนจะได้รับค่าบำเหน็จอย่างแน่นอนจากกิจการงานที่ตนได้ลงมือลงแรง กระทำไปในฐานะนายหน้า 2) สัญญานายหน้าเฉพาะราย (Exclusive Agency Listing) คือ สัญญาที่มีการจ้างนายหน้าโดย เฉพาะเจาะจงเพียงรายเดียว ซึ่งหากมีการขายเกิดขึ้นภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา นายหน้านั้นก็ มีสิทธิที่จะได้รับค่าบำเหน็จแต่เพียงผู้เดียว แต่สัญญาประเภทนี้จะมีข้อสัญญาว่า ในกรณีที่เจ้าของ ทรัพย์สินเป็นผู้ดำเนินการติดต่อโดยตรงทำสัญญากับคู่ค้าเอง ถือว่าสัญญานายหน้าเป็นอันสิ้นสุดลง และไม่มีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จจากสัญญาอีกด้วย 3) สัญญานายหน้าแบบเปิด (Open Listing) คือสัญญาที่มีการจ้างนายหน้าหลายคนซึ่งผู้ที่เป็น นายหน้าแต่ละคนนั้น ชอบที่จะได้รับค่าบำเหน็จก็ต่อเมื่อตนได้ดำเนินการติดต่อหาลูกค้าให้กับเจ้าของ ทรัพย์สินได้เสียก่อนนายหน้าคนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้ดำเนินการติดต่อ โดยตรงทำสัญญากับคู่ค้าเอง ก็จะไม่มีการจ่ายค่าบำเหน็จให้กับนายหน้าเลย สัญญาประเภทนี้ ผู้ที่ทำ หน้าที่นายหน้ามักไม่ประสงค์จะเข้าทำสัญญาด้วย กล่าวคือ แม้หากเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายหน้า ไปแล้วก็มีโอกาสที่จะไม่ได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าได้หรือหากผู้เป็นนายหน้าเข้าทำสัญญาประเภทนี้ ความทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ย่อมลดลงไป เพราะการปฏิบัติหน้าที่อาจเกิดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นผลเสีย แก่นายหน้ามากกว่า 4) สัญญานายหน้าหลายต่อ (Multiple Listing) คือสัญญานายหน้ารูปแบบผสม ซึ่งจะมีความ เกี่ยวพันกันโดยมีบุคคลหลายรายเข้ามามีส่วนร่วมที่จะได้รับค่าบำเหน็จตามสัญญานายหน้า 5) สัญญานายหน้าสุทธิ (Net Listing) คือ สัญญาที่มีการตกลงว่า เจ้าของทรัพย์สินจะต้องได้รับ ราคาอันเป็นค่าทรัพย์สินตามจำนวนที่ชัดเจนแน่นอน ตามจำนวนที่ตกลงไว้ในสัญญา โดยหากมีค่า ราคาซึ่งเกินกว่าจำนวนที่เจ้าของทรัพย์สินจะต้องได้รับตามสัญญา ค่าราคาที่เกินนี้ย่อมตกเป็นค่า บำเหน็จของนายหน้านั่นเอง 2.7 หลักการจัดตั้งองค์กร แนวความคิดในเรื่องของการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระนั้น เป็นแนวความคิดที่ สอดคล้อง กับการใช้อำนาจอธิปไตยและสอดคล้องกับทฤษฎีของการแบ่งแยกอำนาจที่เป็นหลักการ ในทาง เทคนิคของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อที่จะแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของอำนาจ ในทางการเมืองและอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐและองค์กรของรัฐที่แตกต่างภายใต้หลักการและ เหตุผล ของหลักการคานอำนาจระหว่างกัน (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2557) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิด แนวคิดในการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นองค์กรอิสระในหลักการทางกฎหมายมหาชนในแง่ของการมี ดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะและประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและการคุ้มครอง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3