2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

34 สิทธิเสรีภาพของประชาชนและเอกชนซึ่งเริ่มก่อตั้งความคิดนี้ขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงในระบบของ การเมืองและระบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จอห์น ล๊อค (John Locke) นักปรัชญาทางการเมืองของอังกฤษได้ให้คำอธิบายไว้ว่าอำนาจ อธิปไตยสามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 อำนาจ ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจที่ เกี่ยวกับการทำสงคราม การทำสนธิสัญญาและการแลกเปลี่ยนทูต โดยให้ความเห็นว่าอำนาจที่สำคัญ ที่สุดคืออำนาจทางนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจที่กำหนดหลักเกณฑ์และขอบเขตของสิทธิตามธรรมชาติ มนุษย์อันได้แก่ ชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สิน ส่วนอำนาจบริหารนั้นหมายถึงอำนาจบังคับบัญชาให้ เป็นไปตามกฎหมายด้วยการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ถือว่าเป็นอำนาจที่มีความสำคัญรองลงมาแต่เป็นอำนาจ ที่ขาดเสียมิได้ (อมร จันทรสมบูรณ์, 2527) แต่อย่างไรก็ดีจากหลักการแบ่งแยกอำนาจดังกล่าวนั้น ไม่ได้หมายรวมถึงการแบ่งแยกอำนาจ อธิปไตยซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและแบ่งแยกไม่ได้ แต่ยังหมายถึงการแบ่งแยกองค์กรผู้ที่ใช้อำนาจ เหล่านั้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมิให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งของรัฐมีอำนาจมากจนผูกชาดการใช้อำนาจได้ โดยมีการแบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อำนาจออกเป็นองค์กรต่าง ๆ ดังนี้ 1) องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการตรากฎหมาย แก้ไขกฎหมายและยกเลิก การบังคับใช้กฎหมาย 2) องค์กรบริหาร เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ใช้อำนาจในการปกครองบริหารประเทศหรือรวมไปถึง การจัดทำบริการสาธารณะ ต่อมามีแนวความคิดที่จะกระจายอำนาจฝ่ายบริหารกับการดูแล การควบคุมตรวจสอบแยกออกจากกันเพื่อที่จะไม่ให้เกิดความขัดแย้งในการดำเนินงานและเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการควบคุมตรวจสอบการดำเนินงานของฝ่ายบริหารและการใช้อำนาจด้านต่างๆ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระจึงเกิดขึ้นจากการทำหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลการ ทำงานของฝ่ายบริหารเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์ของประชาชน เพื่อที่จะสอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกอำนาจและถ่วงดุลอำนาจ 3) องค์กรตุลาการ เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจในการอำนวยความยุติธรรมเมื่อมีเหตุหรือมีข้อพิพาท เกิดขึ้น โดยหลักการแล้วหลักการแบ่งแยกอำนาจนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องให้องค์กรผู้ใช้อำนาจ ทั้งสาม อำนาจมีความเท่าเทียมกันเสมอไป อำนาจใดอำนาจหนึ่งอาจอยู่เหนืออีกอำนาจก็ได้ แต่มิใช้อยู่ เหนือกว่าในลักษณะที่เด็ดขาดสมบูรณ์ อำนาจที่อยู่ภายใต้ก็จะต้องมีมาตรการที่เป็นหลักประกันใน การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตนได้พอสมควร 2.7.1 ประเภทขององค์กรตามระบบกฎหมาย 1) องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามหลักกฎหมายมหาชนในประเทศที่ใช้ระบบ Common Law ประเทศที่ใช้กฎหมายระบบ Common Law ได้แก่ ประเทศสหราชอาณาจักรและประเทศ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาได้เป็นประเทศที่ได้หรือเริ่มการนำเอาแนวความคิดใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3