2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
35 เรื่องขององค์กรของรัฐที่มีความเป็นอิสระโดยไม่สังกัดหน่วยงานของฝ่ายบริหารแต่มีการใช้อำนาจ มหาชนเข้ามาบริหารจัดการในองค์กรอิสระในการบริหารประเทศโดยได้มีการจัดตั้งขึ้นใน สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกเรียกว่า Independent Regulatory Agency ทั้งที่ในขณะนั้นพระ ธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้อำนาจบริหารให้เป็นของประธานาธิบดีซึ่งหน่วยงาน ที่มีการจัดตั้งขึ้นและมีลักษณะเป็นการบริหารนั้นต้องขึ้นอยู่กับอำนาจบังคับบัญชาของกระทรวงใด กระทรวงหนึ่งและอยู่ภายใต้การสั่งการโดยตรงของประธานาธิบดีทันทีที่มีการจัดตั้งองค์กรที่เป็น อิสระของรัฐ ในลักษณะที่เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระจึงมีข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในทันทีว่า เป็นโมฆะขัดกับรัฐธรรมนูญไม่เคารพหลักการแบ่งแยกอำนาจภายในองค์กรเดียวที่ไม่ขึ้นกับองค์กร ตามรัฐธรรมนูญใดๆเลย และยังมีทั้งอำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการรวมอยู่ใน องค์กรเดียว (วิษณุ วรัญญู, 2538) 2) องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามหลักกฎหมายมหาชนในประเทศที่ใช้ระบบ Civil Law ซึ่งประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Civil Law ได้แก่ ประเทศในกลุ่มยุโรป เช่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศ เยอรมันนี ประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น ประเทศญี่ปุ่น โดยมีประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่ได้ นำเอาแนวความคิดในเรื่องขององค์กรของรัฐที่มีความเป็นอิสระเข้ามาใช้ในการบริหารประเทศ ทั้งที่ ประเทศฝรั่งเศสเองก็มีการจัดรูปแบบของรัฐตามโครงสร้างในรูปแบบของรัฐเดี่ยว มีรัฐเป็นนิติบุคคล ในทางกฎหมายมหาชนโดยรัฐนั้นถืออำนาจสูงสุดและควบคุมการปกครองโดยที่ประเทศฝรั่งเศสเป็น รัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจการปกครองอย่างมากจึงมีนิติบุคคลอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา โดยตรงของรัฐ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ (สุรพล ลี้นิติไกรพจน์, 2532) 2.7.2 ลักษณะขององค์กรที่เข้ามาควบคุม การควบคุมทางวิชาชีพนั้นถือว่าเป็นการจัดทำบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของรัฐ ซึ่งรัฐนั้น มีอำนาจหน้าที่ให้องค์กรทางวิชาชีพได้ดำเนินการแทนรัฐ ในลักษณะขององค์กรกระจายอำนาจ ทางด้านบริการสาธารณะ ดังนั้นรัฐยังคงจะต้องมีอำนาจในการกำกับดูแลให้การบริการนั้นเป็นไป ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การจัดตั้งองค์กรวิชาชีพในแต่ละวิชาชีพนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตาม เหตุผลทางประวัติศาสตร์ของวิชาชีพนั้นๆ ในบางวิชาชีพการควบคุมการประกอบวิชาชีพนั้นเกิดจาก การรวมตัวกันของผู้ประกอบวิชาชีพ องค์กรวิชาชีพนั้นก็เกิดขึ้นโดยการก่อตั้งของผู้ประกอบวิชาชีพ เอง แต่ในบางวิชาชีพก็เกิดจากรัฐเห็นว่าอาชีพหนึ่งอาชีพใดมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้คนในสังคม หรืออาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือในด้านอื่นๆ จึงจำเป็นจะต้องมีการ ควบคุมการประกอบอาชีพในลักษณะของวิชาชีพ แต่เมื่อยังไม่มีการควบคุมและไม่มีองค์กรใดในการ ทำหน้าที่ดูแลในส่วนนี้ รัฐก็จำเป็นที่จะต้องมีผู้บัญญัติกฎหมายจัดตั้งองค์กรควบคุมวิชาชีพขึ้นมาเอง โดยการเกิดขึ้นขององค์กรควบคุมวิชาชีพนั้นเป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อที่จะควบคุมผู้ ประกอบวิชาชีพและส่งเสริมการประกอบอาชีพ ซึ่งมีลักษณะขององค์กรทางวิชาชีพดังต่อไปนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3