2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

36 1) การจัดตั้งองค์กรทางวิชาชีพโดยทั่วไปจะกระทำได้โดยรัฐเป็นผู้อนุมัติในการจัดตั้งดังจะ เห็นได้จากประเทศฝรั่งเศสที่มีกฎหมายอนุญาตในการจัดตั้งสภาทนายความและสภาวิชาชีพที่เกี่ยวกับ กระบวนการยุติธรรม เช่น คณะกรรมการผู้จัดทำและรับรองนิติกรรมคณะกรรมการพนักงานคดี ประจำศาล ต่อมาในสมัยรัฐบาลวิซี (Vichy) ได้ออกกฎหมายอนุญาตให้มีการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพ สาขาอื่นๆได้ เช่น แพทย์ สถาปนิก วิศวกร เป็นต้น (อุดม รัฐอมฤต, 2532) สำหรับในประเทศไทยนั้น การจัดตั้งองค์กรทางวิชาชีพก็ได้กำเนิดในลักษณะเดียวกัน คือรัฐบาลจะปรากฏหมายอนุญาตให้มีการ จัดตั้งองค์กรทางวิชาชีพเป็นรายๆไป ดังจะเห็นได้จากการจัดตั้งเนติบัณฑิตยสภา พระธรรมโดยพระ ราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ.2457 ต่อมาได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ.2507 รับรองการจัดตั้งและการจัดตั้งแพทย์สภา รวมไปถึงสภา ทนายความกระทำโดยประกาศใช้พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 จัดตั้งสภาการพยาบาล กระทำโดยประกาศใช้พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 การจัดตั้ง สภาเภสัชกรรมกระทำโดยประกาศใช้พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 จัดตั้งคุรุสภา กระทำโดยประกาศใช้พระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 จัดตั้งสภาวิชาชีพบัญชีกระท ำโดยใช้ พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 สภาวิชาชีพวิศวกรจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 สภาสถาปนิกจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 ซึ่งจากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า หลักการในการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพโดยทั่วไปนั้น เกิดจากการที่รัฐจัดทำภารกิจของรัฐในเรื่องของ ภารกิจลำดับรองที่รัฐจะเลือกใช้ในการดำเนินบริการสาธารณะ 2) องค์ประกอบขององค์กรทางวิชาชีพแบ่งออกเป็นสองส่วน ในส่วนแรกได้แก่สมาชิกของ องค์กร ได้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพในสาขานั้นๆ ส่วนที่สองได้แก่องค์กรบริหารงานขององค์กรวิชาชีพซึ่ง จะต้องมีที่มาจากตัวแทนของสมาชิกหรืออาจจะมาจากตัวแทนของรัฐเข้ามาเป็นกรรมการในการ บริหารองค์กรวิชาชีพด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์กรวิชาชีพนั้น ๆ 3) อำนาจหน้าที่ขององค์กรทางวิชาชีพ มีทั้งในลักษณะที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบ วิชาชีพ และเป็นตัวแทนรัฐในการควบคุมวินัยในการประกอบวิชาชีพของสมาชิกโดยฐานะดังกล่าว องค์กรทาง วิชาชีพสามารถใช้อำนาจในลักษณะที่เป็นการบังคับฝ่ายเดียวเหนือสมาชิก ได้แก่ การออก ข้อบังคับ ทั่วไปเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ เช่น การออกข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ข้อกำหนดต่างๆหรือรวมไปถึงการออกข้อบังคับเฉพาะราย การออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ หรือการ พักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาตรวมไปถึงการกำหนดคุณสมบัติในการประกอบ วิชาชีพ เป็นต้น 2.2.3 องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมผู้ประกอบอาชีพ ในส่วนขององค์กรทางวิชาชีพที่ทำหน้าที่ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศไทยนั้นมี 2 ลักษณะ คือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3