2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

37 1) องค์กรทางวิชาชีพที่ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพโดยที่ผู้ประกอบวิชาชีพเอง เฉพาะเป็น องค์กรวิชาชีพที่มีลักษณะเป็นสภาวิชาชีพ มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากฝ่ายปกครองที่ได้รับ การกระจายอำนาจทางปกครองจากรัฐ โดยให้ผู้ประกอบวิชาชีพในแต่ละสาขาควบคุมการประกอบ วิชาชีพกันเอง แต่ทั้งนี้ยังอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลของฝ่ายปกครองตามลักษณะของการ กระจายอำนาจทางปกครอง ซึ่งองค์กรทางวิชาชีพที่มีลักษณะเป็นสภาวิชาชีพนั้น ได้ถือว่ามีฐานะเป็น หน่วยงานทางปกครองในความหมายของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือ ดำเนินกิจการทางปกครองตามนัยยะมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ.2542 ซึ่งสถานะที่แท้จริงแล้วของสภาวิชาชีพนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเอกชนแต่จะมี สถานะเป็นหน่วยงานทางปกครองก็ต่อเมื่อสภาวิชาชีพกระทำการอันเกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายได้ มอบหมายให้สภาวิชาชีพนั้นใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินการทางปกครองเท่านั้น ส่วนเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยงานดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการสภาวิชาชีพ นายกสภาวิชาชีพหรือ ตำแหน่งอื่นที่จะมีลักษณะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเฉพาะเมื่อกระทำการอันเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายให้ใช้ อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองเช่นกัน และองค์ประกอบส่วนใหญ่ขององค์กรผู้ใช้ อำนาจมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกประกอบวิชาชีพนั้นๆ เช่น สภาทนายความ แพทย์สภา สภาวิศวกร เป็นต้น 2) องค์กรทางวิชาชีพที่ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพโดยรัฐ เป็นองค์กรวิชาชีพที่ไม่มีลักษณะ เป็นสภาวิชาชีพ ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่มีลักษณะเป็นคณะกรรมการควบคุมประกอบอาชีพ เป็น องค์กรของฝ่ายปกครองในการควบคุมการประกอบอาชีพสาขาใดสาขาหนึ่ง และองค์ประกอบส่วน ใหญ่ขององค์กรผู้ใช้อำนาจจะเป็นโดยตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือโดยตำแหน่งแต่งตั้งจากฝ่าย ปกครองและฝ่ายปกครองมีอำนาจในการปลดออกจากตำแหน่งได้ ซึ่งจะมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เฉพาะเมื่อกระทำการอันเกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายมอบอำนาจให้คณะกรรมการดังกล่าวใช้อำนาจทาง ปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง เช่น คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และ คณะกรรมการช่างรังวัดเอกชน เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเกิดข้อผิดพลาดเกี่ยวกับองค์กรวิชาชีพขึ้นโดยเป็น ข้อพิพาทอันหนึ่งมาจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องต่างๆ เช่นคดี พิพาทเกี่ยวกับการออกคำสั่ง ออกกฎหรือการกระทำทางปกครองอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็น คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ล่าช้าเกินสมควร คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้ อำนาจตามกฎหมาย กฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาคดี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3