2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

39 กำหนดให้ฝ่ายปกครองลงแก่ผู้กระทำอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งทาง ปกครอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการสาธารณะสามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งการกำหนดโทษ ทางปกครองจะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการลงโทษและจะสอดคล้องกับสภาพของบริการ สาธารณะที่มุ่งคุ้มครอง โดยอาจแบ่งรูปแบบได้ดังต่อไปนี้ (ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์, 2547) 1) โทษทางการเงิน เป็นโทษทางปกครองที่มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง โดยกระทำใน รูปของโทษปรับทางปกครองหรือการมีคำสั่งระงับการจ่ายหรือให้หักเงินช่วยเหลือตามกฎหมายก็ได้ โดยมักจะกำหนดโทษให้มีอัตราสูงเพื่อให้ผู้ที่คิดจะฝ่าฝืนกฎหมายเกรงกลัวและมักจะกำหนดโทษขั้น ต่ำสุดจนถึงสูงสุดเอาไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสมแก่ข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี 2) โทษที่เป็นการเพิกถอนสิทธิ เป็นโทษในลักษณะที่เป็นการเพิกถอนสิทธินี้จะกำหนด ควบคู่ไปกับการประกอบกิจการประเภทที่ต้องมีการขออนุญาต ขอจดทะเบียน หรือเมื่อได้ประกอบ กิจการแล้วจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานตามกฎหมายรับรู้ สำหรับโทษทางปกครองประเภทนี้อาจแบ่ง รูปแบบออกไปตามความรุนแรงของโทษที่จะกำหนด โดยเริ่มจากการมีคำสั่งจำกัดการประกอบการ การพักใช้ใบอนุญาตหรือการจดทะเบียนหรือการให้ความเห็นชอบ หรือการตัดสิทธิในการ ประกอบการซึ่งได้แก่ คำสั่งห้ามดำเนินการ ห้ามประกอบการ คำสั่งยกเลิกเพิกถอนใบอนุญาตหรื อ การจดทะเบียนหรือการให้ความเห็นชอบ แต่การออกคำสั่งเพิกถอนสิทธิในลักษณะนี้จะไม่รวมถึง กรณีที่มีการเพิกถอนสิทธิ เพราะคำสั่งที่ก่อตั้งสิทธิในการประกอบกิจการนั้นออกโดยไม่ชอบด้วย กฎหมายด้วย 3) โทษที่กระทบต่อชื่อเสียง การประกอบกิจการบางประเภทจำเป็นต้องอาศัยความ น่าเชื่อถือ ชื่อเสียงของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การกำหนดโทษทางปกครองที่จะทำให้ ชื่อเสียงหรือความน่าเชื่อของผู้ประกอบการต้องเสียไปจึงนำมาใช้กับกรณีนี้ได้ เช่น กรณีที่กฎหมาย กำหนดให้ฝ่ายปกครองประกาศหรือแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือสาธารณชนทราบถึงการกระทำที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายของผู้กระทำผิด หรือการตำหนิโดยเปิดเผยของสาธารณชน 4) การเปรียบเทียบคดีตามใบสั่ง ในกรณีที่กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่ จะเปรียบเทียบคดีเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดโดยไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ทั้งนี้เพื่อลดภาระของศาลใน การพิจารณาคดีเล็กน้อย โดยเมื่อมีผู้กระทำการอันกฎหมายห้ามเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจออก ใบสั่ง (Infringement notice) แจ้งข้อกล่าวหาให้บุคคลดังกล่าวทราบและให้มาชำระค่าปรับตาม จำนวนที่เปรียบเทียบซึ่งต้องไม่เกินเพดานตามที่กฎหมายกำหนด หากบุคคลดังกล่าวไม่ชำระค่าปรับ ตามที่เปรียบเทียบ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยื่นฟ้องบุคคลดังกล่าวเป็นคดีต่อศาล 2.8.2 โทษทางแพ่ง โทษทางแพ่งเป็นมาตรการทางเลือกในการบังคับใช้กฎหมายซึ่งมีลักษณะผสมระหว่าง กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกับโทษทาง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3