2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

40 อาญา กล่าวคือมีลักษณะเป็นผลร้ายซึ่งผู้กระทำความผิดได้รับการตอบแทนเนื่องจากฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งการตอบแทนนี้มีลักษณะเป็นการตำหนิผู้กระทำความผิด แต่ใช้วิธีพิจารณาความแพ่งในการ พิจารณาคดีเพื่อกำหนดโทษดังกล่าว โดยมาตรการที่สำคัญของการลงโทษทางแพ่งคือ มาตรการ ลงโทษทางการเงิน ซึ่งมีสาระไปในทำนองเดียวกับโทษปรับในทางอาญา แต่มีความแตกต่างจากการ เยียวยาความเสียหายในทางแพ่งตรงที่โทษกำหนดไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับค่าเสียหายที่แท้จริง และมีความแตกต่างจากค่าเสียหายในเชิงลงโทษตรงที่เงินได้จากมาตรการลงโทษทางการเงินในการ ดำเนินการตามมาตรการลงโทษทางแพ่งนั้นจะต้องนำส่งให้รัฐ มิได้นำไปชดใช้แก่ผู้เสียหายและกระทำ โดยศาลยุติธรรมในรูปคำพิพากษาเท่านั้น 2.9 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ 2.9.1 สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปเป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคยุโรปทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในลักษณะสถาบันแบบเหนือรัฐ (Supranational Institution) ที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้า ที่สุดในโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสันติภาพเป็นการถาวรระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรป ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก และการมีบทบาทนำของ EU ในประชาคมโลก โดยกระบวนการถ่ายโอนอำนาจการบริหารจาก ประเทศสมาชิกไปสู่การเป็นองค์การเหนือรัฐของสหภาพยุโรปมีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป การรวมกลุ่ม อย่างเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1950 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประเทศยุโรป ตะวันตก 6 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป ( European Coal and Steel Community - ECSC) ขึ้น ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการรวมกลุ่มจะมีขึ้นเพื่อผลประโยชน์ ทางด้านการเมืองในการควบคุมการผลิตวัตถุดิบที่อาจนำไปสู่การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมสงครามและ เลือกใช้วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการผลิตเป็นตัวนำเพื่อคลายความระแวงสงสัยระหว่างกันก็ตาม การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้ต่อมาในปี ค.ศ. 1957 ได้ขยายการรวมกลุ่มครอบคลุมภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยประเทศสมาชิกได้ลงนามในสนธิสัญญา กรุ ง โรม (Treaty of Rome) เพื่ อจัด ตั้ งป ระช าคม เศ รษ ฐ กิจยุ โรป ( European Economic Community - EEC) เพื่อให้เป็นทั้งสหภาพศุลกากร (Customs Union) และตลาดร่วม (Common Market) ถือเป็นกระบวนการรวมกลุ่มด้านเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในปี ค.ศ. 1990 ในช่วงหลังสงครามเย็น ฝรั่งเศสและเยอรมนีเสนอให้มีการจัดตั้งสหภาพ การเมืองของยุโรปเพื่อให้มีการกำหนดนโยบายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงร่วมกัน ซึ่ง ท้ายที่สุด นำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญามาสทริชท์ (Treaty of Maastricht) เพื่อจัดตั้งสหภาพ ยุโรป (European Union – EU) ขึ้นในปี ค.ศ.1992 รวมไปถึงการใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันด้วย ต่อมา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3