2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

41 ในปี ค.ศ.2007 ประเทศสมาชิก EU ตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อตอบสนอง กระบวนการบูรณาการภายใน EU ที่ก้าวหน้าขึ้นและบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของ EU ในประชาคมโลก จึงได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาลิสบอน (Lisbon Treaty) โดยประเทศสมาชิกให้ความเห็นชอบในการ สละอำนาจอธิปไตยบางส่วนให้แก่ความร่วมมือเหนือชาติ (supranational cooperation) ในเรื่อง (1) สหภาพศุลกากร (customs union) (2) การออกกฎระเบียบด้านการแข่งขัน (competition rules) (3) นโยบายด้านการเงิน (monetary policy) สำหรับรัฐสมาชิก EU ที่ใช้สกุลเงินยูโร (4) การ อนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพทางทะเล (marine biological resources) ภายใต้นโยบายร่วมด้านประมง และ (5) นโยบายการค้าร่วม (common commercial policy) ทั้งนี้ สนธิสัญญาลิสบอนมีผลบังคับ ใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 ปัจจุบัน EU มีรัฐสมาชิกจำนวน 27 ประเทศ (โครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกล่าสุด เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2556 และสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิก EU เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2563) มีระบบตลาด ร่วม ระบบภาษีศุลกากรร่วม การใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันใน 19 ประเทศสมาชิก (ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ไซปรัส เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสเปน) และมีศูนย์กลางการ บริหารอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม (กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ, 2564) หลักการสำคัญของการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป คือการให้เสรีภาพในการ เคลื่อนย้ายประชากรระหว่างรัฐสมาชิก ถือเป็นประเด็นหลักที่จะส่งผลต่อการพัฒนาระบบตลาดร่วม ภายในโดยตรง การเดินทางไปมาระหว่างรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปจะเป็นไปโดยปราศจากการตรวจ ตราที่ชายแดนของแต่ละรัฐ การข้ามไปทำงานในรัฐสมาชิกต่างๆโดยไม่จำกัดเงื่อนไขในการประกอบ อาชีพ (สิทธิชัย โชคสวัสดิ์ไพศาล, 2561) นอกจากนี้ สหภาพยุโรปได้มีการออกกฎเกณฑ์กลาง (Directive) ซึ่งเป็นกติกากลางที่กำหนดขึ้นเพื่อให้รัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปได้ใช้เป็นแนวทางร่วมกัน ด้วยการทำระบบกฎระเบียบให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (single regulatory regime) ซึ่งแต่ละประเทศ สามารถออกกฎหมายของประเทศนั้นๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์กลางดังกล่าวได้ ในปัจจุบัน สหภาพยุโรปได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการยอมรับคุณสมบัติทางด้าน วิชาชีพ กล่าวคือ Directive 2013/55/EU of the European Parliament and of the Council เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 (โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม Directive 2005/36/EC on the recognition of professional qualifications and Regulations (EU) No. 1 0 2 4 / 2 0 1 2 on administrative cooperation through the Internal Market Information System) ซึ่ ง เป็ น กติกากลางในเรื่องคุณสมบัติของผู้มีวิชาชีพที่เคลื่อนย้ายเพื่อให้บริการในประเทศสมาชิกอื่นในสหภาพ ยุโรป โดยสามารถใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของประเทศสมาชิกแหล่งกำเนิดได้ โดยผู้มีวิชาชีพ สามารถขอขึ้นทะเบียนล่วงหน้ากับหน่วยงานที่มีอำนาจในประเทศสมาชิกเจ้าบ้านได้ โดยใช้เกณฑ์การ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3