2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

42 พิจารณาคุณสมบัติทางด้านการศึกษาและประสบการณ์ โดยหากผู้มีวิชาชีพมีคุณสมบัติต่างๆ ตามที่ กำหนดไว้ครบถ้วนและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ ประเทศสมาชิกเจ้า บ้านต้องยอมรับคุณสมบัติดังกล่าวเช่นเดียวกับคุณสมบัติที่ได้รับจากประเทศของตนโดยอัตโนมัติ และ ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศสมาชิกของตนให้แก่ผู้มีวิชาชีพดังกล่าว โดยมีการ กำหนดให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา และเริ่มใช้กับผู้มีวิชาชีพ 5 วิชาชีพก่อน ได้แก่ พยาบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลทั่วไป เภสัชกร นักกายภาพบาบัด มัคคุเทศก์ด้านการ ปีนเขา รวมถึงนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ด้วย และจะมีการขยายไปถึงวิชาชีพอื่นๆในอนาคต ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของบัตรประจำตัวผู้มีวิชาชีพจะทำให้สามารถเสนอบริการทางวิชาชีพในประเทศที่เป็น สมาชิกสหภาพยุโรปได้ง่ายขึ้น เนื่องจากได้รับการยอมรับในคุณสมบัติวิชาชีพในประเทศอื่นในยุโรป แล้ว อย่างไรก็ดี บัตรประจำตัวผู้มีวิชาชีพดังกล่าวไม่ได้เข้ามาแทนที่ขั้นตอนเกี่ยวกับการยอมรับใน เรื่องคุณสมบัติตาม Directive เดิม แต่จะช่วยให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้มีวิชาชีพที่ประสงค์จะทำงาน ในประเทศในยุโรปไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร (Anerkennung In Deutschland, 2566) บัตรประจำตัวผู้มีวิชาชีพ (European Professional Card) หรือ EPC นี้ เป็นขั้นตอนอิเล็กทรอนิกส์ที่ ทำให้ผู้มีวิชาชีพต่างๆ ได้รับการยอมรับในประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยบัตรดังกล่าวจะช่วยให้การ จัดการง่ายและเร็วกว่าขั้นตอนการยอมรับคุณสมบัติแบบเดิม และมีความโปร่งใสมากกว่า โดยผู้สมัคร สามารถสมัครและติดตามการสมัครได้ทางระบบออนไลน์ทางระบบ European Commission Authentication Service (ECAS) รวมถึงสามารถอัพโหลด เอกสารที่ได้เคยอัพโหลดไว้แล้ว เพื่อยื่น สมัครใหม่ในประเทศอื่นๆ ที่มีความประสงค์จะสมัครแต่ยัง ไม่ได้สมัครได้ โดยบัตรประจ ำตัวผู้มี วิชาชีพนี้สามารถใช้ได้ทั้งในกรณีที่ผู้มีวิชาชีพประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพในประเทศกลุ่ม สหภาพยุโรปแบบชั่วคราวหรือเป็นครั้งคราว (Temporary Mobility) และแบบที่ประสงค์จะปฏิบัติ หน้าที่ในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปแบบถาวร (Establishment) นอกจากนั้น บัตรประจำผู้มีวิชาชีพนี้ ไม่ใช่เป็นแค่เพียงบัตรเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงว่า ผู้มี วิชาชีพได้สอบผ่านและได้การยอมรับในคุณสมบัติวิชาชีพในประเทศที่ผู้มีวิชาชีพประสงค์จะปฏิบัติ หน้าที่หรือแสดงให้เห็นว่ามีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขการให้บริการทางวิชาชีพในประเทศนั้นๆ โดย เมื่อการสมัครขอบัตรประจำตัวผู้มีวิชาชีพได้รับการอนุมัติ ผู้มีวิชาชีพจะสามารถพิมพ์ใบรับรองการ ออกบัตรประจำตัวผู้มีวิชาชีพจากระบบในรูปแบบ PDF ได้ด้วยตนเอง และระบบดังกล่าวนี้นายจ้างจะ สามารถเข้าไปตรวจสอบวันหมดอายุของบัตร โดยอาศัยหมายเลขอ้างอิงของผู้มีวิชาชีพได้ แต่อย่างไรก็ดี หากผู้มีวิชาชีพประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่ในประเทศนั้นแบบถาวร ผู้มีวิชาชีพจะต้อง ดำเนินการขึ้นทะเบียนกับองค์กรวิชาชีพนั้นๆด้วย หรือต้องได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติมก่อนเริ่มปฏิบัติ หน้าที่สำหรับคุณสมบัติที่ผู้มีวิชาชีพต้องมีกรณีปฏิบัติหน้าที่นอกประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป คือ คุณสมบัติของผู้มีวิชาชีพต้องได้รับการยอมรับในประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มสหภาพยุโรป และ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3