2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
56 2.10 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใช้บังคับเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เหมือนกับนายหน้าประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย หรือนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ มีเพียง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับกับนายหน้าทั่วไป ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาท เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นนายหน้าประเภทหนึ่ง จึง ต้องนำบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา ลักษณะ16 มาใช้บังคับ แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาไว้เท่านั้น ดังต่อไปนี้ 2.10.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในบริบทของสังคมในปัจจุบันที่ได้ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนซึ่งมีความหลากหลาย วิชาชีพ และอาชีพไม่ว่าจะเป็นด้านความเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการเลือก นับถือศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นของตนเองนั้น หรือแม้กระทั่งการเลือกประกอบ อาชีพนั้น เป็นต้น และในเสรีการเลือกประกอบอาชีพของประเทศไทย (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560, 2560) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตามมาตรา 40 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของประเทศ การแข่งขันอย่างเป็นธรรม การป้องกัน หรือ ขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดระเบียบการประกอบอาชีพเพียงเท่าที่ จำเป็น หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น การตรากฎหมายเพื่อจัดระเบียบการประกอบอาชีพตามวรรคสอง ต้องไม่มีลักษณะ เป็นการเลือกปฏิบัติ หรือก้าวก่ายการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา” เมื่อนำบัญญัติในมาตรา 40 มาพิจารณาแล้วพบว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเลือก ประกอบอาชีพจะจำกัดการเลือกประกอบอาชีพของบุคคลไม่ได้ แต่ในการเลือกประกอบอาชีพนั้น จะต้องไม่เป็นการกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจ การแข่งขันอย่างเป็นธรรม การกีดกัน หรือผูกขาด ประกอบกับในบางอาชีพอาจเป็นการกระทบกระเทือนต่อประชาชนโดยตรงเนื่องจากว่า ประชาชนในฐานะที่เป็นผู้บริโภค ประชาชนอาจถูกบุคคลแอบอ้างว่าตนประกอบอาชีพนั้นและ ประชาชนจะต้องเข้ามารับบริการจากผู้ซึ่งประกอบอาชีพ ตัวอย่างเช่นการหลอกลวงในการประกอบ อาชีพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 ตำรวจกองปราบปราม (บก.ป.) ได้ร่วมแถลงผลการจับกุมอดีต นายทหารที่แอบอ้างว่าสามารถหาที่ดินจากการขายทอดตลาด โดยอดีตนายทหารรายนี้จะทำหน้าที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3