2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
57 เป็นนายหน้าและได้ทำเอกสารปลอมขึ้นมา ทำให้มีประชาชนหลายคนหลงเชื่อและสูญเสียเงินจำนวน มาก ( หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ , 2564) เพราะฉะนั้นใบอนุญาตในการประกอบอาชีพหรือประกอบธุรกิจจึงเป็น สิ่งสำคัญ จึงต้องมีหน่วยงานจากทางภาครัฐเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลและออกใบอนุญาตให้ เนื่องจากว่าใน แต่ละสาขาอาชีพจะมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจและความชำนาญเฉพาะด้าน หลังจาก ที่หน่วยงานจากทางภาครัฐออกใบอนุญาตให้แล้วก็จะต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลในการทำหน้าที่ของแต่ ละสาขาอาชีพที่ออกใบอนุญาตให้ว่าได้บริการถูกต้องตามหลักการและจรรยาบรรณของสาขาวิชาชีพ นั้น 2.10.2 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะและสาระสำคัญของสัญญานายหน้า โดยสัญญานายหน้าเป็นสัญญาประเภท หนึ่งซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา สัญญา นายหน้าได้แก่บุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ตัวการ” โดยอนุโลมได้ตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่บุคคลอีก คนหนึ่ง “นายหน้า” เพื่อเป็นสื่อช่วยชี้ช่องให้บุคคลฝ่ายหนึ่งได้เข้าทำสัญญากับอีกฝ่ายหนึ่งหรือ จัดการให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้เข้าทำสัญญากัน ดังนั้น กิจการที่นายหน้าได้ทำไปจึงเห็นได้ว่าเป็นเพียง สะพานทอด หรือเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อติดต่อระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่ายเท่านั้น โดยนายหน้าเองไม่มี อำนาจทำการแทนด้วยและไม่ทำกิจการนั้นแทนผู้อื่นในนามของตนเอง นายหน้า หมายถึง บุคคลผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคล 2 ฝ่าย ได้เข้าทำสัญญากัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2539) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะมีลักษณะตามมาตรา 845 กล่าว คือ “มาตรา 845 บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำ สัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทำสัญญากันก็ดี ท่านว่า บุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญา นั้นได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ทำกันไว้นั้นมี เงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบำเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่จนกว่าเงื่อนไข นั้นสำเร็จแล้ว นายหน้ามีสิทธิจะได้รับค่าชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปก็ต่อเมื่อได้ตกลงกันไว้เช่นนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้บังคับแม้ถึงว่าสัญญาจะมิได้ทำกันสำเร็จ” โดยสาระสำคัญของนายหน้ามีดังต่อไปนี้ 1) มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย กล่าวคือ บุคคลที่ตกลงจะให้ค่าบำเหน็จนายหน้าฝ่ายหนึ่ง และ บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าอีกฝ่ายหนึ่ง บุคคลที่ตกลงจะให้ค่าบำเหน็จนายหน้านั้นจะ เป็นบุคคล ธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ กิจกรรมบางประเภทที่มีกฎหมายควบคุมไว้พิเศษ ต้องมีการขออนุญาต ก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นนายหน้าประเภทนั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3