2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
58 2) นายหน้าชี้ช่องหรือจัดการให้มีการทำสัญญา สัญญานายหน้านั้นไม่มีแบบเพียงแต่ คู่สัญญาตกลงกันด้วยวาจา สัญญานายหน้าก็เกิดขึ้นมีผลผูกพันตามกฎหมาย การชี้ช่องหรือจัดการให้ มีการทำสัญญา ก็มีลักษณะเป็นการที่นายหน้าไปแจ้งข่าว ไปชักชวนให้บุคคลภายนอกรู้ว่ามีบุคคล หนึ่งต้องการที่จะกระทำการใดๆ ส่วนสัญญาที่นายหน้าชี้ช่องให้มีการทำสัญญากันนั้น จะเป็นสัญญา ประเภทใดก็ได้ เช่น สัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน สัญญาซื้อขายก็ได้ โดย การชี้ช่องให้เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำสัญญานายหน้านั้น ข้อสำคัญ คือ การแนะนำชี้ช่องนั้น จะต้องเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการทำสัญญาระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย 3) บุคคลที่ตกลงจะให้ค่าบำเหน็จนายหน้า จะจ่ายค่านายหน้าเมื่อสัญญานั้นได้ทำกัน สำเร็จ หากมิได้มีการตกลงเช่นว่านี้ก็จะไม่เป็นสัญญานายหน้า (คำพิพากษาฎีกาที่ 3611/2524) คำว่า “สำเร็จ” ตามมาตรา 845 นี้ หมายความว่า นายหน้าได้ทำการจนหมดหน้าที่แล้วก็เป็นการเพียงพอ กล่าวคือ ถ้าทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาซึ่งเป็นการผูกมัดกันตามกฎหมายแล้ว นายหน้าก็หมดหน้าที่ และไม่เป็นข้อสำคัญว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้ปฏิบัติการครบถ้วนหรือไม่ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้ กระทำผิดสัญญาในภายหลัง (ไชยเจริญ สันติศิริ, 2498) ค่าบำเหน็จนายหน้านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “มาตรา 846 ถ้า กิจการอันได้มอบหมายแก่นายหน้านั้น โดยพฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่าย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาค่า บำเหน็จไซร้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้า ค่าบำเหน็จนั้นถ้ามิได้กำหนดจำนวนกันไว้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันเป็นจำนวนตาม ธรรมเนียม” จากบทบัญญัตินี้ การตกลงเกี่ยวกับบำเหน็จค่านายหน้ามีได้ 2 แบบ คือ 1) มีการตกลงกันโดยชัดแจ้งว่ามีการให้บำเหน็จนายหน้าหากว่านายหน้าทำการเสร็จ 2) มีการตกลงกันโดยปริยาย กฎหมายให้ถือตามธรรมเนียมที่เคยให้กันในกิจการนั้นๆ ตามพฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่านายหน้ากระทำการนั้นเพื่อประสงค์จะเอาบำเหน็จ แบบของสัญญานายหน้านั้น ซึ่งภารกิจของนายหน้า คือ เป็นคนกลางแนะนำชี้ช่อง จัดการให้คู่สัญญาสองฝ่ายเข้าทำสัญญากันสำเร็จตามความมุ่งหมาย นายหน้ามิได้เข้าทำนิติกรรม สัญญานั้นเองหรือทำแทนแต่อย่างใด กฎหมายจึงมิได้กำหนดแบบของสัญญานายหน้าไว้ การเกิด สัญญาจึงอาจเกิดจากความตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ สำหรับหน้าที่และความรับผิดของนายหน้า โดยสัญญานายหน้านั้นเมื่อนายหน้าเป็นผู้ชี้ ช่องหรือจัดการอย่างใดๆ ให้มีการทำสัญญากันสำเร็จแล้วนายหน้าก็ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนชี้ ช่องด้วย เพราะนายหน้ามิได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำสัญญานั้นโดยตรง ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 848 ว่า “ตัวนายหน้าไม่ต้องรับผิดไปถึงการชำระหนี้ตามสัญญาซึ่งได้ทำต่อกันเพราะตนเป็นสื่อ เว้นแต่จะ มิได้บอกชื่อของฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่ง” การที่มาตรา 848 ช่วงท้ายกำหนดไปในทำนองให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3