2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
59 นายหน้าจะต้องรับผิดนั้นก็เพราะมิได้บอกชื่อคู่สัญญาให้แต่ละฝ่ายทราบ ซึ่งทำให้แต่ละฝ่ายไม่รู้ว่าจะ ไปบังคับให้ชำระหนี้ระหว่างกันเช่นไรและเป็นการป้องกันการทุจริตของนายหน้า ในส่วนที่กฎหมาย บัญญัติว่า เว้นแต่จะมิได้บอกชื่อของฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่ง คำว่า “มิได้บอกชื่อ” น่าจะหมายถึง มิได้บอกชื่อและนามสกุลให้ทราบ อายุความฟ้องเรียกค่านายหน้านั้น กฎหมายในเรื่องนายหน้าไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นอายุความฟ้องร้องเรียกค่านายหน้าจึงใช้อายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ในเรื่องของนายหน้าไม่ได้บัญญัติถึงความระงับสิ้นไปของสัญญานายหน้าไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงเป็นไป ตามหลักของสัญญาทั่วไป ดังต่อไปนี้ 1) สัญญาระงับเพราะมีการกำหนดเงื่อนไขของการสิ้นสุดสัญญาไว้ 2) บุคคลที่ตกลงจะให้บำเหน็จนายหน้า หรือบุคคลที่เป็นนายหน้าบอกเลิกสัญญา นายหน้านั้น หรือทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญานายหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างกัน 3) นายหน้าได้ชี้ช่องให้มีการทำสัญญากันแล้วเสร็จในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย 4) เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 346 ถึงมาตรา 394 เรื่องการเลิกสัญญา หมวดที่ 4 บรรพ 2 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2.10.3 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ 2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับแรกที่รับรอง และคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคอย่างเป็นทางการและโดยชัดแจ้งในพระราชบัญญัติ โดยมี เจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคโดยตรงและโดยแท้ดังชื่อของพระราชบัญญัติและตราขึ้น ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการระหว่าง ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็น รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ใน มาตรา 57 ว่า "สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเป็นการทั่วไป โดยกำหนด หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจต่อผู้บริโภค เพื่อให้ความเป็นธรรมตามสมควรแก่ผู้บริโภคตลอดจนจัดให้มี องค์กรของรัฐตามความเหมาะสมเพื่อตรวจตรา ดูแล และประสานงานการปฏิบัติงานของส่วนราชการ ต่างๆในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 นี้ได้รับการ ปรับปรุงแก้ไขล่าสุด คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ 2562 ซึ่งส่งผลให้มาตรฐาน ในทางกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคนั้นครอบคลุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยการคุ้มครองผู้บริโภคถือเป็น สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทยทุกคนที่พึงได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3