2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
60 ผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้ (พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522, 2522) 1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อมูลต่างๆ ที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ผ่านการโฆษณาหรือการแสดงฉลากของผู้ประกอบธุรกิจ โดยนัยดังกล่าว การโฆษณาก็ดี การแสดง ฉลากก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ข้อมูลที่ ถูกต้อง หมายถึง ข้อมูลที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจตามความ เป็นจริง ข้อมูลเพียงพอ หมายถึง ข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะไม่หลงผิดในการ ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจะได้รับความคุ้มครองสมตามความมุ่งหมายของกฎหมายก็ต่อเมื่อ ข้อมูลที่จัดหาให้นั้นจะต้องกระทำในภาษาที่อ่านเข้าใจได้ (Norbert Reich) ด้วย โดยนัยดังกล่าว การ คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ จึงประกอบด้วยการคุ้มครองทั้ง ในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณ 2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือ รับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภคและปราศจากการบังคับ การจำกัด หรือการชักจูงใจอย่าง ใดๆ อันไม่เป็นธรรมจากการกระทำใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ ผลที่ตามมาคือ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้อง ไม่กระทำการใดๆ อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคไม่มีอิสระในการเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการ หรือทำให้ ผู้บริโภคตกอยู่ภายใต้สภาพบังคับให้ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการตามเงื่อนไขที่ผู้ประกอบธุรกิจกำหนด มิฉะนั้น ผู้ประกอบธุรกิจย่อมกระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคและย่อมจะมีความรับผิด ตามกฎหมาย 3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับ สินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้สอยประโยชน์ และ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน ในกรณีที่ผู้บริโภคใช้สอย สินค้าหรือบริการตามคำแนะนำ หรือใช้ความระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้น โดยนัย ดังกล่าว หากผู้บริโภคได้รับความเสียหายอย่างใดๆ จากการใช้สินค้าหรือรับบริการของผู้ประกอบ ธุรกิจ ผู้บริโภคย่อมจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 4) สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ ด้วยเหตุนี้แม้โดยทั่วไปแล้ว การทำสัญญาเป็นเรื่องของความ พึงพอใจของคู่สัญญาอันเป็นไปตามหลักเสรีภาพแห่งการแสดงเจตนา แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคย่อม ได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ข้อตกลงในสัญญาที่ผู้บริโภคได้ทำไว้กับผู้ประกอบธุรกิจก่อให้เกิดความ ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3