2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
61 5) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะโต้แย้งหรือ คัดค้านผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่ซื้อจากผู้ประกอบธุรกิจหรือเกี่ยวกับบริการที่ได้รับจากผู้ ประกอบธุรกิจ และได้รับการพิจารณาจากองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสิทธิที่จะได้รับการ เยียวยาและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว อันเป็นเหตุให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด (สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, 2565b) สำหรับปัญหาที่ผู้บริโภคมักร้องเรียนเกี่ยวกับด้านที่อยู่อาศัย โดยจากการสังเคราะห์ ข้อมูลการร้องเรียนของผู้บริโภคต่อศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจากปัญหาเรื่องที่อยู่ อาศัย สามารถจัดกลุ่มปัญหาได้ดังนี้ (1) บ้าน ที่ดิน อาคารพาณิชย์ อาทิเช่น การไม่สร้างบ้านตามสัญญา การไม่ได้สร้าง ตามแบบที่ขออนุญาต กรณีที่ไม่สามารถโอนบ้านได้ตามสัญญา วัสดุที่นำมาสร้างบ้านไม่มีคุณภาพ การซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการประมูลของธนาคาร แต่ต้องรับภาระฟ้องขับไล่ผู้อยู่อาศัยเดิม กรณีที่มี การชำรุดหลังปลูกสร้าง, ผู้รับเหมาทิ้งงาน ก่อสร้างล่าช้า สัญญาไม่เป็นธรรม เอาเปรียบผู้บริโภค เป็น ต้น (2) อาคารชุด คอนโดมีเนียม อาทิเช่น การสร้างไม่เสร็จตามสัญญา ปัญหาการบริหาร จัดการงานของนิติบุคคลที่ไม่รักษาผลประโยชน์ลูกบ้าน การไม่โอนตามสัญญา พื้นที่ไม่ครบตามสัญญา การไม่คืนเงินมัดจำ การใช้วัสดุไม่มีคุณภาพ ชำรุดหลังรับโอน รวมถึงกรณีสัญญาไม่เป็นธรรม เอา เปรียบผู้บริโภค เป็นต้น (3) สาธารณูปโภค พื้นที่ส่วนกลาง (รวมทั้งบ้านและอาคารชุด) อาทิเช่น การไม่สร้าง สาธารณูปโภคตามสัญญา กรณีไม่มีพื้นที่ส่วนกลางตามแบบที่ขออนุญาตจัดสรร ปัญหาการบริหาร จัดการงานของนิติบุคคลที่ไม่รักษาผลประโยชน์ของลูกบ้าน การนาพื้นที่ส่วนกลางไปจาหน่ายให้กับ บุคคลหรือหน่วยงานอื่น นอกจากนั้น สำหรับกรณีของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ปัจจุบันมี มาตรฐานในการจัดเก็บค่าคอมมิชชั่นกับลูกค้า โดยจะคิดในอัตราร้อยละ 4 ของราคาตลาดที่มีการซื้อ ขาย (อัตรานี้ถ้าสามารถขายอสังหาริมทรัพย์ให้ลูกค้าได้ภายใน 3 เดือน) และคิดในอัตราร้อยละ 3 หลังจากพ้น 3 เดือนแรกไปแล้ว แต่ปัจจุบันเนื่องจากไม่มีกฎหมายออกมารองรับอาชีพนายหน้า ผู้ซื้อ และผู้ขายจึงมักมีการต่อรองค่าคอมมิชชั่นกับนายหน้า จึงพบเห็นได้บ่อยครั้งว่า นายหน้ามักจะถูกโกง ค่าคอมมิชชั่น เพราะลูกค้าที่ฝากขายจ่ายเงินให้ไม่ครบเต็มจำนวน และมีการร้องเรียนผ่านสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) อยู่หลายกรณีด้วยกัน แต่มักจะไม่ได้รับความเห็นใจจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคคลทั่วไป เพราะประชาชนทั่วไปยังมีมุมมองเชิงลบต่อนายหน้าอสังหาฯ ทั้งที่นายหน้าปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง แต่ถ้าฝั่งนายหน้าอสังหาฯ เป็นผู้กระทำความผิด ก็มักจะตกเป็น ผู้ร้ายไปในทันทีเช่นกัน (ไทยแลนด์ อินดัสทรี, 2554)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3