2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
62 2.10.4 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เป็นกฎหมายที่สำคัญอีก ฉบับหนึ่งที่มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญาเป็นการเฉพาะ เพื่อมิให้ผู้บริโภคถูกเอารัด เอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจผ่านสัญญาสำเร็จรูป หรือสัญญาใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือ วิชาชีพเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขแห่งสัญญาแต่ฝ่ายเดียว อันเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคที่มีอำนาจ ต่อรองเศรษฐกิจด้อยกว่า ทำให้ เกิดความไม่เป็นธรรมและความไม่สงบสุขในสังคม โดย พระราชบัญญัตินี้ กำหนดแนวทางให้แก่ศาลเพื่อใช้ในการพิจารณาว่าข้อสัญญาหรือข้อตกลงใดที่ไม่ เป็นธรรม และให้อำนาจแก่ศาลที่จะสั่งให้ข้อสัญญาหรือข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมนั้นมีผลใช้บังคับเท่าที่ เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี (พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540, 2540) ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 บัญญัติ ว่า “ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญา สำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญา สำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มี ผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความสัญญาสำเร็จรูปไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งมิได้เป็นผู้ กำหนดสัญญาสำเร็จรูปนั้น ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญู ชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง” จากบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนด (1) ลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และ (2) ผลแห่งข้อสัญญา ที่ไม่เป็นธรรมไว้ ดังนี้ (1) ลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญา ที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ประกอบไปด้วยเงื่อนไขสำคัญสองประการ ได้แก่ เงื่อนไขที่หนึ่งคือ ในเชิง รูปแบบ โดยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้แก่ ข้อตกลงใดๆที่กำหนดไว้ในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ ประกอบธุรกิจหรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือข้อตกลงใดๆ ในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ ประกอบธุรกิจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น สัญญาขายฝาก สัญญาเช่าซื้อ สัญญาบัตร เครดิต สัญญากู้ยืมเงิน โดยนัยดังกล่าว ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมจึงย่อมประกอบด้วยเงื่อนไขเชิง รูปแบบสองประการ ได้แก่ ข้อตกลงที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงหรือกำหนดไว้ในสัญญาทั่วไป หรือ สัญญาเฉพาะเรื่อง และสัญญานั้นเป็นสัญญาในทางธุรกิจการค้าของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีคู่สัญญาฝ่าย หนึ่งเป็นผู้บริโภค และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจหรือวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาฐานะของคู่สัญญา ในสัญญาที่อาจมีข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ได้กำหนดความหมายหรือลักษณะของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3