2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
63 ผู้บริโภค และผู้ประกอบธุรกิจหรือวิชาชีพ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 ไว้โดยชัดแจ้ง ดังนี้ “ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอา ประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดโดยมี ค่าตอบแทน ทั้งนี้ การเข้าทำสัญญานั้นต้องเป็นไปโดยมิใช้เพื่อการค้าทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์ อื่นใดนั้น และให้หมายความรวมถึงผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าว ซึ่งมิได้ กระทำเพื่อการค้าด้วย “ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ” หมายความว่า ผู้เข้าทำสัญญาใน ฐานะผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใดเพื่อจัดให้ซึ่งทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ การเข้าทำสัญญานั้นต้องเป็นไปเพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์ อื่นใดนั้นเป็นทางค้าปกติของตน ตามนิยามข้างต้น จะเห็นได้ว่า การกำหนดนิยามหรือความหมายของผู้บริโภคก็ดี ผู้ ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพก็ดี ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อพิจารณาสองประการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการบริโภคทรัพย์สิน บริการหรือ ประโยชน์อื่นใด และวัตถุประสงค์ของการขัดให้ ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นเป็นสำคัญ กล่าวคือ ในด้านของผู้บริโภค ผู้บริโภคจะต้องซื้อ สินค้าหรือรับบริการอย่างใดอย่างหนึ่งไปเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยส่วนตัว หรือเพื่อการบริโภค ภายในครัวเรือน มิใช่เพื่อที่จะนำทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์ที่ได้รับนั้นไปทำการค้าขายต่ออีก ทอดหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพย่อมได้แก่ บุคคลใดๆที่จัดให้ซึ่ง ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์ใดๆแก่ผู้บริโภคในการประกอบกิจการทางการค้าเกี่ยวกับสินค้าหรือ บริการนั้นเป็นปกติธุระของตน และเรียกค่าตอบแทนในการดำเนินการเช่นนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งผู้ ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการหรือประโยชน์อื่นใดในทางการค้าหรือในการประกอบกิจการ ของตน การดำเนินการเช่นว่านั้น ผู้ประกอบธุรกิจย่อมกระทำเพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือแสวงหา รายได้หรือกำไรเป็นหลัก ดังนั้น ผู้บริโภคจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่การจัดการทรัพย์สินหรือบริการ ของผู้ประกอบธุรกิจเป็นสำคัญมิได้กระทำให้เปล่าแต่อย่างใด ทั้งนี้ นอกจากจะต้องเป็นข้อตกลงในสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบ ธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนั้นยังจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขที่สอง คือในเชิง เนื้อหาอีกด้วย ซึ่งข้อสัญญาแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มิได้ หมายความถึงข้อตกลงหรือข้อสัญญาที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งข้อตกลงเช่นว่านี้ย่อมตกเป็นโมฆะทันทีตามกฎหมาย (ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์) และมิอาจจะนำมากล่าวอ้างแต่อย่างใด แม้ผู้เสียหายจะให้ความตกลงหรือ ยินยอมก็ตาม หากแต่หมายถึงข้อตกลงที่ทำให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกิน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3