2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
64 สมควร กล่าวคือ ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่หรือรับภาระเกิน กว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงในสัญญาทั่วไปหรือข้อตกลงที่จำกัด สิทธิหรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพการงาน โดยนัยดังกล่าว ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม ย่อมหมายถึง ข้อตกลงที่กำหนดภาระหน้าที่แก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอันจะพึงต้องปฏิบัติต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกิน สมควร เมื่อเปรียบเทียบกับภาระหน้าที่ที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งนั้นจะต้องปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อตกลง ที่เปิดโอกาสให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเอารัดเอาเปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจนเกิดสมควร (2) ผลแห่งข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ได้ให้อำนาจแก่ศาลที่จะสั่งให้ข้อสัญญาหรือข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมนั้นมีผลใช้บังคับแค่ไหน เพียงใดอีกด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่สัญญาและแก่กรณี ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 และ มาตรา 5 โดยนัยดังกล่าวข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมจึงมิได้ตกเป็นโมฆะ แต่ใน ขณะเดียวกัน ข้อตกลงนั้นก็มิได้ มีผลบังคับตามที่คู่สัญญาได้กำหนดหรือตกลงกันไว้แต่อย่างใด หากแต่พระราชบัญญัตินี้ กำหนดให้ข้อตกลงเช่นว่านั้นมีผลบังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควร แก่กรณีเท่านั้น และให้อำนาจแก่ศาลที่จะสั่งให้ข้อตกลงหรือข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นข้อสัญญาไม่ เป็นธรรม นั้นมีผลใช้บังคับแค่ไหนเพียงใดจึงจะเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี แต่อย่างไรก็ตาม การจะกำหนดในลักษณะเด็ดขาดหรือตายตัวว่าให้ข้อสัญญาที่ไม่เป็น ธรรมมีผลบังคับแค่ไหนเพียงใดไว้โดยชัดแจ้งย่อมมิอาจกระทำได้ เนื่องจากการทำสัญญาในแต่ละกรณี มีเงื่อนไขหรือปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่ เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จึงกำหนดแนวทางแก่ศาลในการวินิจฉัยโดยให้ศาลคำนึงถึงพฤติการณ์ทั้งปวง และปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นรายกรณีเป็นสำคัญ อันได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับคู่สัญญา เช่น ความสุจริต อำนาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจ ความสันทัดชัดเจน ความคาดหมาย แนวทางที่ เคยปฏิบัติ ทางเลือกอย่างอื่น และทางได้เสียทุกอย่างของคู่สัญญาตามสภาพที่เป็นจริง ปัจจัยเกี่ยวกับ การทำสัญญา เช่น ปกติประเพณีของสัญญาชนิดนั้น เวลาและสถานที่ในการทำสัญญาหรือในการ ปฏิบัติตามสัญญา ปัจจัยเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของคู่สัญญา ได้แก่ การรับภาระที่หนักกว่ามากของ คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่ศาลพึงจะต้องคำนึงถึงในการวินิจฉัยผลบังคับของข้อสัญญาที่ไม่ เป็นธรรมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ก็เป็นปัจจัยเดียวกันกับที่ศาลใช้ในการ พิเคราะห์ว่าข้อตกลงหรือข้อสัญญาที่เกี่ยวข้องมีลักษณะเป็นข้อตกลงที่ทำให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3